Abstract:
การศึกษาเรื่อง การจัดการสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานในโรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาระบบการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยของโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 2) ศึกษาการดำเนินการในเรื่องแผนและการปฏิบัติตามมาตรฐานกฎหมายเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของโรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสหภาพแรงงานกับมาตรฐานการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างในสถานประกอบการผลการศึกษา สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่เคยขอรับบริการหรือความช่วยเหลือด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย สำหรับสถานประกอบการที่เคยขอรับบริการหรือความช่วยเหลือด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย ส่วนใหญ่จะขอรับบริการจากสถาบันความปลอดภัย และส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับรางวัลมาตรฐาน ISO 14000 นโยบายและการสนับสนุนของนายจ้างในการดำเนินงานเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนใหญ่ไม่มีแผนงานและงบประมาณในการทำงาน แต่มีการดูแลซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำงาน และมีกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน และใช้วิธีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยเสมอ สถานประกอบการส่วนใหญ่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับพื้นฐาน และไม่มีหน่วยงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับการจัดเก็บข้อมูล สถิติ และการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขส่วนใหญ่ไม่มีการดำเนินการในเรื่องนี้มาตรฐานการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ส่วนใหญ่มีมาตรฐานการจัดการด้านสุขภาพต่ำกว่าระดับกฎหมายกำหนด และมีมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนดบทบาทสหภาพแรงงาน สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีสหภาพแรงงาน สำหรับสถานประกอบการที่มีสหภาพแรงงาน พบว่าสหภาพแรงงานมีบทบาทในการดำเนินการเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างปานกลางข้อเสนอแนะของผู้วิจัยสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ ภาครัฐควรให้ความสำคัญและดำเนินการในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างอย่างเข้มงวดและจริงจัง นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงกระบวนการและวิธีการทำงานในเรื่องการตรวจความปลอดภัย ให้มีการดำเนินการอย่างครอบคลุมทั่วถึงในทุกพื้นที่ วิธีการดำเนินการอาจใช้ระบบเครือข่ายโดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมในการตรวจความปลอดภัยและควรส่งเสริมให้มีการนำระบบมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมาใช้กับสถานประกอบการทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งสหภาพแรงงานให้มากขึ้น เนื่องจากหากมีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังย่อมส่งผลที่ดีต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพของลูกจ้างทุกคน