การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เป็นการศึกษาผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุน และให้ความรู้ต่ออาการผิวหนังอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยแผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลวัฒโนสถ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ จำนวน 32 ราย ผู้วิจัยจัดให้ผู้ป่วย 16 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ 16 รายหลังจัดเป็นกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการดูแลตามระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ประกอบไปด้วยการสร้างสัมพันธภาพ การให้ความรู้ การชี้แนะ การสนับสนุน และการสร้างสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดูแลตนเอง รวมระยะเวลาการศึกษา 7 สัปดาห์ การเก็บข้อมูลใช้ แบบประเมินอาการผิวหนังอักเสบ แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยต่อการดูแลผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี และแบบบันทึกการดูแลผิวหนังแต่ละสัปดาห์ด้วยตนเองของผู้ป่วย เก็บข้อมูล 7 ครั้ง คือ สัปดาห์ที่ 1 ก่อนทดลอง (T[subscript 0]) สัปดาห์ที่ 2 (T[subscript 1]) สัปดาห์ที่ 3 (T[subscript 2]) สัปดาห์ที่ 4 (T[subscript 3]) สัปดาห์ที่ 5 (T[subscript 4]) สัปดาห์ที่ 6 (T[subscript 5]) และสัปดาห์ที่ 7 (T[subscript 6]) ผลการทดลองพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของอาการอักเสบผิวหนัง ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติ ANOVA repeated measures จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับรังสีรักษาทั้งสองกลุ่มมีอาการผิวหนังอักเสบ โดยระดับความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงสัปดาห์ที่ได้รับรังสีรักษา แตกต่างจากระยะก่อนทดลอง (T[subscript 0]) และระหว่างการทดลอง (T[subscript 1] ถึง (T[subscript 6]) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ มีความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบในระหว่างการทดลอง (T[subscript 1] ถึง (T[subscript 6]) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
This quasi-experimental study aimed to study the effects of supportive-educative nursing system on dermatitis of patients with head and neck cancer receiving radiation. The participants consisted of 32 cancer patients receiving radiation at the Wattanosoth hospital, Bangkok Dusit Medical Services Public Company Limited. The first 16 subjects were assigned to the control group, who received the standare care. The second 16 subjects assigned to the experimental group. The program consisted of the following nursing intervention: building relationship, teaching, guiding, supporting and providing supportive environment within seven-week period. Data were collected using the skin self-reaction assessment, the interview on feeling of patients toward skin care in radiation area, and the skin-care record. The series of data collection were conducted at week 1 prior to the experiment (T[subscript 0]), week 2 (T[subscript 1]), week 3 (T[subscript 2]), week 4 (T[subscript 3]), week 5 (T[subscript 4]), week 6 (T[subscript 5]) and week 7 (T[subscript 6]). The effectiveness of the program was determined by seveity of dermatitis. Hypotheses were tested using analysis of percentage, mean, minimum, maximum and ANOVA repeated measures. The result found that both samples, who received radiation had incresed severity of dematitis in each week after radiation, had differed from before and during experiment (p<0.05). The experimental group, who receiving supportive-educative nursing system had less severity of dematitis during experiment compared with the control group (p<0.05).