DSpace Repository

ทัศนคติต่อการประทับตราและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิงในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
dc.contributor.advisor Saowanit Nitananchai
dc.contributor.author บุญมาดา บุญญคุณากร
dc.contributor.author Boonmada Boonyakunakorn
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2025-02-08T08:26:16Z
dc.date.available 2025-02-08T08:26:16Z
dc.date.issued 2007
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3639
dc.description การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 en
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยนี้ เรื่อง “ทัศนคติต่อการประทับตราและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิงในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติต่อการประทับตราของหญิงรักหญิง 2) ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของหญิงรักหญิง 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นหญิงรักหญิง มีประชากรไม่สามารถกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ จึงได้ทำโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จึงโดยใช้วิธีการติดต่อผ่านกลุ่มหญิงรักหญิงที่พบปะกันในกรุงเทพมหานคร มีผู้สมัครใจเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 71 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 10 - 50 ปี ผลการศึกษาด้านปัจจัยบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 21-30 ปี และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีอายุระหว่าง 41-50 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีระดับการศึกษาที่ระดับต่ำกว่ามัธยมปลาย/ปวช. กับระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพ พนักงานบริษัท/องค์กรเอกชน และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีอาชีพว่างงาน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-20,000 บาท และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีรายได้ 20,001-30,000 บาท ผลการวิเคราะห์ทัศนคติต่อการประทับตราพบว่า ทัศนคติต่อการประทับตราโดยรวมสังคมทุกกลุ่มยอมรับกลุ่มตัวอย่างหญิงรักหญิงในระดับปานกลาง มีความสัมพันธเชิงบวกต่อการปรับตัว ทางสังคมของหญิงรักหญิง ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้กล่าวคือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างทัศนคติต่อการประทับตรากับความสามารถในการปรับตัวทางสังคม กล่าวคือ หญิงรักหญิงได้รับทัศนคติต่อการประทับตราที่ดี มีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมสูงกว่าหญิงรักหญิงที่ได้รับทัศนคติต่อการประทับตราต่ำกว่าผลการวิเคราะห์การสนับสนุนทางสังคม พบว่า การสนับสนุนทางสังคม โดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างหญิงรักหญิงให้รับการสนับสนุนทางสังคมจากสังคมทุกกลุ่มในระดับมากมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิง ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้กล่าวคือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการปรับตัวทางสังคม ทั้งนี้พบว่าหญิงรักหญิงที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่ระดับมาก มีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมสูงกว่าหญิงรักหญิงที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่าผลการวิเคราะห์การมีคุณค่าในตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างหญิงรักหญิงมีคุณค่าในตนเองสูง มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิง ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้กล่าวคือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการมีคุณค่าในตนเองกับความสามารถในการปรับตัวทางสังคม ทั้งนี้พบว่าหญิงรักหญิงที่มีคุณค่าในตนเองที่สูง มีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมสูงกว่าหญิงรักหญิงที่มีคุณค่าในตนเองต่ำกว่าจากการศึกษาลักษณะการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิง พบว่า หญิงรักหญิงมีการแสดงออกที่เหมาะสมอยู่ในระดับสูง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่น อยู่ในระดับสูง มีทัศนคติที่ดีต่อคนอื่นอยู่ในระดับสูง และมีการปรับตัวทางสังคมด้านพอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่ในระดับสูงข้อเสนอแนะ ทุกคนในสังคมควรจะให้ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และการสนับสนุนที่ดีต่อหญิงรักหญิงเทียบท่าสังคมทั่วไปเพื่อความเป็นสังคมแห่งสมานฉันท์สถาบันการศึกษา จะต้องมีวิชาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษาในลักษณะที่ถูกต้องไม่ปลูกฝังจิตใจเด็กให้เข้าใจในเรื่องรักฤษลดียวกันในทางที่ผิดสื่อมวลชน ต้องนำเสนอภาพลักษณ์ของหญิงรักหญิงในทางที่เป็นจริง ไม่ควรสร้างหรือปลุกกระแสแฟชั่นนิยมแบบผิด ๆ ควรนำเสนอในลักษณะสอดแทรกความรู้ และเป็นข้อเท็จจริงดังเช่นสังคมทั่ว ๆ ไป หรือเม้แต่ระดับกว้างออกไปควรมีการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารสุขและองค์กรพัฒนาเอกชน จัดให้มีหน่วยบริการให้คำปรึกษาแก่หญิงรักหญิงที่ประสบปัญหาไม่ทราบว่าจะปรึกษาใครได้ควรจัดให้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพสำหรับหญิงรักหญิง เพื่อให้หญิงรักหญิงได้มีความรู้ในด้านการป้องกันโรคความรู้เรื่องทศศึกษาและการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject เลสเบี้ยน -- ไทย -- กรุงเทพฯ en
dc.subject Lesbianism -- Thailand -- Bangkok en
dc.subject รักร่วมเพศ -- แง่สังคม. en
dc.subject Homosexuality -- Social aspects en
dc.subject การปรับตัวทางสังคม en
dc.subject Social adjustment en
dc.subject การสนับสนุนทางสังคม en
dc.subject Social support en
dc.subject ความภูมิใจแห่งตน en
dc.subject Self-esteem en
dc.subject ความรู้สึกเป็นตราบาป en
dc.subject Stigma (Social psychology) en
dc.title ทัศนคติต่อการประทับตราและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิงในกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Attitude towards Stigmatization and Social Support Related to the Social Adjustment of Lesbian Couples in Bangkok en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account