DSpace Repository

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทวีศักดิ์ กสิผล
dc.contributor.advisor วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
dc.contributor.advisor Taweesak Kasiphol
dc.contributor.advisor Vanida Durongrittichai
dc.contributor.author มธุรส บุญแสน
dc.contributor.author Maturote Boonsan
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-06-04T13:35:21Z
dc.date.available 2022-06-04T13:35:21Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/364
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556 th
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการทหารทุกชั้นยศและลูกจ้างประจำที่มีภาวะอ้วนลงพุงตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ Modifies NECP ATP III จากผลการตรวจร่างกายประจำปี พ.ศ. 2555 ที่ปฏิบัติงานในค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี จำนวน 186 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ แบบวัดการรับรู้อุปสรรค แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบวัดความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แบบวัดอิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และแบบวัดอิทธิพลด้านสถานการณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสมพันธ์สเปียร์แมน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุงมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 (S.D.=0.56) นอกจากนี้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโรคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 36.10 (R [square] = 0.361, p<0.01) ซึ่งสามารถเขียนสมการทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง ค่ายนวมินทรชินี จังหวัดชลบุรี ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ =0.382 + 0.396 (การรับรู้ความสามารถตนเอง) + 0.213 (อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล) + 0.152 (การรับรู้ประโยชน์) th
dc.description.abstract This purpose of this research was to study level of health promoting behaviors on food consumption and exercise and factors perdicting health promoting behaviors on food consumption and exercise among Royal Thai Army Military who have metabolic syndrome at Nawamintharachini Fort, Chonburi province. The research samples consisted of Royal Thai Army Military who have metabolic syndrome based on criterias. Modified NCEP ATP III and have check up resuly 2012 in Nawamintharachini Fort, Chonbury province which consisted of 186 Royal Thai Army Military. The samples were selected by systematic random sampling. The instruments utilized by the data collection consisted of general information questionnaires, questionnaires on health promoting behaviors on food consumption and exercise, perceived benefit, perceived barrier, perceived self efficacy, activity-related effects, interpersonal and situational influences questionnaires. The data were collected form December 2012-January 2013. Statistical methods of frequency, mean, standare deviation, person's product moment correlation, spearman rank correlation, and stepwise multiple regression analysis were used to analyzed data. The results of the study were as follows: Royal Thai Army Military with metabolic syndrome have moderate level of health promoting behaviors on food consumption and exercirse (mean = 3.15, S.D. = 0.56). In addition: perceived self efficacy, interpersonal influences and perceived benefit predictors of health promoting behaviors were significant predictors of health promoting behaviors on food consumption and exercise of Royal Thai Army Military with metabolic syndrome in Nawamintharachini Fort, Chonburi province at 36.10 percent (R [square] = 0.361, p<0.01). The equation raw score was as follows; Health promoting behaviors on food consumption and exercise = 0.382 + 0.396 (perceived self efficacy) + 0.213 (interpersonal influences) + 0.152 (perceived benefit) th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี) th
dc.subject การออกกำลังกาย th
dc.subject Exercise th
dc.subject โรคอ้วน th
dc.subject Obesity th
dc.subject พฤติกรรมสุขภาพ th
dc.subject Health behavior th
dc.subject บริโภคนิสัย th
dc.subject Food habits th
dc.title ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี th
dc.title.alternative Factors Predicting Health Promoting Behaviors on Food Consumption and Exercise among Royal Thai Army Military with Metabolic Syndrome at Nawamintharachini Fort, Chonburi Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account