การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่มนักเรียนสตรีวัยรุ่น กรณีศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนแรก เป็นการทบทวนวรรณกรรมจากวารสารทางวิชาการ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นคัดกรองหากลุ่มเสี่ยง ของการขาดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV และมีพฤติกรรมที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HPV โดยการให้นักเรียนสตรีวัยรุ่น จำนวน 50 คน ตอบแบบคัดกรองความเสี่ยง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างถูกเลือกตามความสะดวกโดยครูในโรงเรียนแห่งนั้น ผลการทำแบบคัดกรองความเสี่ยง พบว่า นักเรียนสตรีวัยรุ่นขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV คิดเป็นร้อยละ 54 และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HPV คิดเป็นร้อยละ 32 จากนั้น พัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV โดยการคัดเลือก นักเรียนสตรีวัยรุ่น จำนวน 16 คน ที่พบว่ายังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HPV เข้าร่วมกิจกรรมสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์ครู 2 คน ผู้ปกครอง 5 คน และพยาบาลอนามัยโรงเรียนจำนวน 1 คนผลการศึกษา พบว่า แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV ได้แก่ การให้ความรู้เรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV การรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก การไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การป้องกันด้วยถุงอนามัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย งดสูบบุหรี่ และเมื่อประสบปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ให้แหล่งให้ความช่วยเหลือขั้นตอนที่สอง เป็นการนำแนวทางการปฏิบัติ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV ไปทดลองใช้ในนักเรียนสตรีวัยรุ่นอีกกลุ่มหนึ่ง จำนวน 10 คน โดยให้ทำแบบวัดความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV หลักจากนั้นผู้ศึกษาให้ความรู้เรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัส HPV ตามที่ระบุไว้ในคู่มือจากนั้นให้ทำแบบวัดความรู้ชุดเดิมผลการศึกษา พบว่า คะแนนความรู้ภายหลังการให้ความรู้เรื่อง เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001
Cervical cancer is the most common malignancy in female, it is curable with early detection. The critical problem noted was the most patients sought proper management only when the disease was in the advanced stage. The purpose of this study was to develop clinical practice guideline for feminine teen-age to protect cervical cancer from HPV, which has trial at a Senior high school in Bangkok Metropolitan as a case study. The process of the study has been divide into 2 process. First process is to review literature from journals, textbooks, and research studies. Fifty convinently female teenagers, who had risk due to lack of knowledge related to cervical cancer from HPV, risky behavior involving getting HPV infected, were selected by their teacher. The risky screening test was used to screen these 50 female teenagers.The result of the screening found that female teenagers had lack of knowledge related to cervical cancer from HPV, which was 54 percent. Also thirty-two percent has risky behavior involving getting HPV infected. After that, the clinical practice guideline for female teenagers to protect Cervical cancer from HPV was developed by interviewing two teacher, five parents and one school nurse and doing focus groups from 16 female teenagers who had lack of knowledge related to cervical cancer from HPV, risky behavior involving getting HPV infected. The result of the clinical practice guideline for female teenagers consist of educating knowledge related to cervical cancer from HPV, cleaning genital hygiene, not having sexual intercourse in and consulting others when having sexual problem and finding resourceful supports. Second process is to apply the clinical practice guideline for female teenagers to protect Cervical cancer from HPV on the other 10 female teenagers. The researcher used the knowledge assessment scale related to cervical cancer from HPV and questionnaire on health behavior for protecting Cervical cancer from HPV. Then, the researcher provided knowledge as guidelines. After that, ten female teenagers were evaluated again. The result of this found that the score after providing knowledge as guideline was significantly at p<.001