dc.contributor.advisor |
ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
|
dc.contributor.advisor |
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya |
|
dc.contributor.author |
พนัส คชนิล |
|
dc.contributor.author |
Panat Chodchanil |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2025-03-22T03:32:23Z |
|
dc.date.available |
2025-03-22T03:32:23Z |
|
dc.date.issued |
2002 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3752 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับจริยธรรมของเด็กนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในจังหวัดพิษณุโลก 2) ศึกษาความแตกต่างของระดับจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 เมื่อจำแนกตามตัวแปรต่างๆ 3) ศึกษาอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว การสั่งสอนจากโรงเรียน ที่มีผลต่อจริยธรรมของเด็ก การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนในโรงเรียนสังกัดประถมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก 9 อำเภอ จำนวน 31 แห่ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน 389 คน เป็นชายร้อยละ 43.4 หญิง 56.6 บิดามารดาส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและอาชีพอิสระ สถานภาพสมรสของบิดามารดาส่วนใหญ่อยู่ด้วยกันจากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลได้ว่า ระดับความรับผิดชอบของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง และนักเรียนหญิงมีความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนชาย โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบโดยตรง คือ การเห็นแบบอย่างจากผู้ใหญ่ การอบรมสั่งสอนจากโรงเรียน การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล และความซื่อสัตย์ระดับความซื่อสัตย์ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง คือ ระดับที่นักเรียนมีการกระทำดีตามที่เห็นผู้อื่นทำ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์โดยตรง คือ ความรับผิดชอบเนื่องจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเห็นแบบอย่างจากผู้ใหญ่เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบในนักเรียนระดับประถมศึกษา และความรับผิดชอบเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความซื่อสัตย์ในนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะให้ผู้ปกครองและโรงเรียนส่งเสริมและปลูกฝังความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและควรมีการติดตามผลเพื่อดูว่าพฤติกรรมความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาไปแล้วจะยังอยู่กับนักเรียนมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างพลเมืองที่มีความซื่อสัตย์ของประเทศต่อไปในอนาคต |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
นักเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- พิษณุโลก |
en |
dc.subject |
School children -- Thailand -- Phitsanulok |
en |
dc.subject |
จริยธรรมนักเรียน |
en |
dc.subject |
Student ethics |
en |
dc.subject |
การขัดเกลาทางสังคม |
en |
dc.subject |
Socialization |
en |
dc.subject |
การเลี้ยงดูเด็ก |
en |
dc.subject |
Child rearing |
en |
dc.subject |
จริยศึกษา (ประถมศึกษา) |
en |
dc.subject |
Moral education (Elementary) |
en |
dc.title |
การศึกษาการอบรมสั่งสอนจริยธรรมแก่เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : ศึกษาเฉพาะนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก |
en |
dc.title.alternative |
A Study on Moral Socialization of Prathom 6 Students : A Study of Students in Pisanuloke Province |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม |
en |