Abstract:
การศึกษาวิจัย เรื่อง "ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้สูงอายุในชุมชนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร: มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและลักษณะความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในชุมชนเลียบคลองมอญและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในชุมชนเลียบคลองมอญ โดยการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 120 คน ผลการศึกษา พบว่าเพศของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.7 และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 43.3 อายุของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 60-65 ปีมากที่สุด สถานภาพสมรสของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีสถานภาพหม้าย/แยกทาง จำนวนมากที่สุด ร้อยละ 47.5 ระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 40 อาชีพหลัก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพค้าชาย คิดเป็นร้อยละ 33.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 1,500 บาท ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 55 สถานภาพในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นสมาชิกครอบครัว ร้อยละ 66.7 และเป็นหัวหน้าครอบครัว ร้อยละ 33.3 ลักษณะโครงสร้างครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัว ต่ำกว่า 1,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 52.5 การดูแลของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผู้ดูแล ร้อยละ 60 ในกรณีของกลุ่มตัวอย่างที่มีผู้ดูแลนั้น พบว่า ส่วนใหญ่มีบุตรหลานเป็นผู้ดูแล ร้อยละ 29.2 ปัจจัยด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าปัจจัยด้านสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งปัจจัยด้านสุขภาพนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ในส่วนของสุขภาพกายนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70 และในด้านสุขภาพจติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคาามคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70 และในด้านสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70 และในด้านสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.8 ปัจจัยทางสังคม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยลละ 59.2ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 65 สำหรับข้อมูลด้านความต้องการสวัสดิการสังคมนั้น ผู้ศึกษาได้จำแนกออกเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการจัดการศึกษา ด้านการสงเคราะห์ที่อยู่อาศัย และด้านการส่งเสริมอาชีพและความมั่นคง ซึ่งสรุปได้ ดังนี้ด้านสุขภาพอนามัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการด้านนี้อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50.8 ด้านการจัดการศึกษา ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 59.2 ด้านการสงเคราะห์ที่อยู่อาศัย มีความต้องการอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 61.7 และในด้านส่งเสริมอาชีพและความมั่นคง มีความต้องการอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 76.7ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการสังคม พบว่า รายได้มีความสัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการสังคม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือ ผู้ที่มีรายได้ต่างกันจะมีระดับความต้องการสวัสดิการสังคมต่างกัน ลักษณะโครงสร้างครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการสังคม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือ ลักษณะโครงสร้างครอบครัวที่ต่างกัน ส่งผลให้ระดับความต้องการสวัสดิการสังคมต่างกัน รายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความต้องการสวัสดิการสังคม ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือ รายได้ของครอบครัวที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ระดับความต้องการสวัสดิการสังคมต่างกันสำหรับการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้สูงอายุชมชนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านความต้องการสวัสดิการผู้สูงอายุ เพราะตระหนักว่าปัญหาดังกล่าวควรมีแนวทางทีชัดเจนเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ศึกษาขอนำเสนอประเด็นการแก้ไขปัญหา โดยการจัดบริการด้านการรักษาพยาบาลให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีแก่คนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยให้การรักษาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บเป็นรายบุคคลสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมารับบริการที่หน่วยงานได้ ในด้านของที่พักอาศัย รัฐควรจัดบริการสำหรับสูงอายุที่มีความจำเป็นและต้องการสถานที่พักอื่นๆ เช่น บ้านพักคนขรา บริการสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ต้องอาศัยอย่างต่อเนื่อง หรือการจัดบริการครอบครัวอุปการะ เป็นบริการที่จัดให้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว หรือไร้ที่พึ่งขาดผู้อุปการะ โดยให้ผู้สูงอายุเข้าไปอยู่กับครอบครัวที่มีความสามารถในการอุปการะเลี้ยงดู เพื่อให้มีสัมพันธภาพอันดีกับครอบครัวในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว ในด้านของการให้สวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ ที่ประสบปัญหาด้านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเนื่องมาจากการมีรายได้น้อย รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อย นอกจากนี้ ควรมีการจัดตั้งกองทุนสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อย นอกจากนี้ ควรมีการจัดตั้งศูนย์บริการคนขรา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้รับบริการต่างๆ ได้แก่ บริการด้านศึกษา บริการด้านนันทนาการ บริการให้คำปรึกษาหารือ และบริการอื่นๆ ที่มีประโยชน์ตามความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน โดยจัดบริการในลักษณะต่างๆ เช่น สโมสรคนชรา ชมรมหรือชุมนุมต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสสังสรรค์หรือทำกิจกรรมร่วมกันผู้ศึกษาเห็นว่า ในการศึกษาครั้้งต่อไป หากมีความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ควรศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง อยู่ในสถานสงเคราะห์ เพื่อศึกษาว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทอดทิ้งผู้สูงอายุ คือปัจจัยใด ซึ่งผลการศึกษาจะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการให้ความดูแล ช่วยเหลือ และป้องกันปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ต่อไป