การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการจัดการของเสียของพนักงานในช่วงก่อนและหลังการรณรงค์เรื่องการจัดการของเสีย เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความรู้และพฤติกรรมการจัดการของเสีย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการจัดการของเสีย มีกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานโรงงาน 112 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ สถิติไคสแควร์ และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (ระดับนัยสําคัญ 0.05) ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้และพฤติกรรมการจัดการของเสียของพนักงานในช่วงหลังการรณรงค์สูงกว่าช่วงก่อนการรณรงค์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และแผนกงาน มีผลต่อความรู้เรื่องการจัดการของเสีย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (แต่อายุไม่มีผลต่อความรู้) และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และแผนกงาน ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการของเสีย และ 3) ความรู้ และพฤติกรรมการจัดการของเสีย มีความสัมพันธ์กันทางบวกในช่วงหลังการรณรงค์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติในช่วงก่อนการรณรงค์
The objectives of this research were to compare knowledge and behavior on waste management of employees in the pre and post- campaign period, to study personal factor affecting knowledge and behavior on waste management, and to study relationships between knowledge and behavior on waste management. The population sample consisted of 112 factory employees. Data were collected using questionnaires. The statistical analysis used mean, frequency, percentage, standard deviation, Paired T-Test, Chi-Square Test, and Pearson’s Correlation Coefficient (significant level of 0.05). The results of the study revealed that 1) both the knowledge and the behavior in the post-campaign period were significantly higher than the pre-campaign period, 2) the personal factors including gender, educational level, and department were significantly affected to the knowledge (but age was not significantly affected). The personal factors including gender, age, educational level, and department were not significantly affected to the behavior, 3) the knowledge and the behavior in the post-campaign period had a statistically significant positive relationship but the knowledge and the behavior in the pre-campaign period had no a significant relationship.