การศึกษารูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในญี่ปุ่นและในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลระยะยาวของต่างประเทศและประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นแบบของการดูแลระยะยาวในระดับโลกและมีการพัฒนาความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับ โดยศึกษาจากเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าประเทศญี่ปุ่นนอกจากจะมีกฎหมายพระราชบัญญัติการประกันดูแลระยะยาวเป็นตัวขับเคลื่อนและมีระบบประกันการดูแลระยะยาว แต่บริการที่ได้รับไม่ได้เน้นเพียงแค่บริการสูขภาพและบริการทางสังคม รูปแบบการดูแลระยะยาวมีความชัดเจนในการแบ่งประเภทของกลุ่มเป้าหมาย และจัดบริการให้ตรงกับลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจะได้รับบริการการดูแลระยะยาวเต็มรูปแบบและบริการที่หลากหลาย แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มุ่งเน้นมาตรการป้องกัน สิทธิประโยชน์การป้องกันรูปแบบใหม่ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นโรคและป้องกันก่อนการเกิดโรคเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุตกอยู่ในภาวะทุพพลภาพหรือพิการ ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงทดลองรูปแบบการดูแลระยะยาวที่เหมาะสมกับประเทศไทย ปัจจุบันมีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นกลไกหลักในการสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ในชุมชนโดยมีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนชมรมผู้สูงอายุที่มีการจัดตั้งในทุกพื้นที่ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม รูปแบบระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ คือ การใช้โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการและใช้ชุมชนเป็นฐานในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามอาจมีข้อจำก้ดในเรื่องของนโยบายสู่การปฏิบัติที่ยังไม่มีความชัดเจนในบางประเด็น เช่น จัดสรรงบประมาณ ระเบียบการเบิกจ่ายเงินหรือความซ้ำซ้อนของบุคลากรในการดูแแลระยะยาว และเป็นการบริการเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ข้อเสนอแนะควรศึกษาปัญหาของการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ แก้ไขระเบียบกฎหมายให้มีความชัดเจนและเน้นการดูแลเชิงป้องกันมากกว่าการรักษาพยาบาล
The study of Long-term care model for the elderly in Japan and in Thailand aimed to study the long-term care model in foreign country and Thailand. At present, Japan has best practice in long-term care services. This study, the founding that: Japan Long-Tern Care Insurance Act and Long-Term Care Insurance focus not only on health and social service but also on condition of the target groups. A dependent elderly person will receive a variety of services. If healthy elderly and able to rely on themselves, the services would focuses on Prevention Measures and New Preventive Benefits (NPB) in order to raise awareness of the importance of disease and pre-disease prevention so that the older people are not fall in infirmity or disability. Thailand is in the process of framing a suitable long-term care model. Currently, the National Health Security Fund, which cooperate between the National Health Security Office (NHSO) and the Local Administration Organization (LAO) play a crucial role in promote the community’s operations, with support of community health networks such as volunteer health services, voluntary care for the elderly, elderly care assistants, including the elderly clubs that established in all areas in order to provide proper care for the elderly, by using a hospital or service unit and using the community based as long-term care for the elderly. However, there is limitation in implementation due to the restrictions of policies which is unclear in some areas such as budget allocation, financial regulation, redundancy of personnel in long-term care and it’s more receptive services than proactive. Recommendations should address the issue of policy implication, revise legal regulations to be clear and focus on preventive care rather than medical treatment.