บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภายใต้การจัดการศึกษาพิเศษเพื่อคนหูหนวก โดยกล่าวถึงเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2494-ปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ใช้วาทกรรมเรื่อง "อำนาจกับความรู้" และการเมืองภาคพลเมือง (Civil Politics) ที่ใช้ "การครองอำนาจนำ (Hegemony)" เป็นแนวคิดในการวิเคราะห์ เนื้อหาหลักเป็นการค้นหาแนวคิดรูปแบบและการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวกผ่านกรอบคิดเชิงความสัมพันธ์ทางอำนาจ วาทกรรมเรื่องความรู้ และขบวนการทางสังคมของกลุ่มคนหูหนวก
จากการศึกษาพบว่ารัฐจัดตั้งโรงเรียนสอนคนหูหนวกทั่วประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2495-2560 รวมทั้งสิ้น 21 แห่ง การจัดการศึกษาพิเศาสำหรับคนหูหนวกของรัฐไทยควบคุมโดยรัฐส่วนกลาง อยู่บนฐานเชิงสงเคราะห์และการมีอำนาจเหนือคนหูหนวกในแง่ของเอกลักษณ์ทางภาษา คนหูหนวกไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงไม่มีความรู้พอที่จะสร้างวาทกรรมและอำนาจต่อรองในฐานะพลเมืองผู้มีสิทธิอันชอบธรรม คนหูหนวกยิ่งความรู้น้อยยิ่งขาดโอกาสในทุกมิติ
การรวมกลุ่มเป็นสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยและการขับเคลื่อนงานร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ถึงแม้ว่าสามารถขับเคลื่อนร่วมกันจนได้สิทธิมากขึ้นหลายประการแต่กลุ่มคนหูหนวกยังเสียเปรียบคนพิการกลุ่มอื่น ในขณะที่ปัญหาด้านการศึกษาของคนหูหนวกยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จึงเป็นความท้าทายที่ควรพิจารณาในเชิงความสัมพันธ์ การเสริมสร้างพลังอำนาจ การส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาสให้คนหูหนวกได้แสดงบทบาทนำในการจัดการศึกษาสำหรับคนหูหนวก รวมถึงการทบทวนบทบาทของรัฐต่อการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสิทธิและความต้องการเฉพาะของแต่ละประเภทหรือระดับความพิการซึ่งแตกต่างกัน
This article aims to investigate the relationship patterns between the deaf and the Thai state under the provision of special education on basic education levels from 1951 until the present time by means of the qualitative research instruments comprised of examining previous literature, interviews, frameworks of power and knowledge, and civic politics with hegemony. The main contents include the analyses of the concepts,, forms, and development of the education provided for the deaf through the paradigm of power relationships, discourse on knowledge and the social movement of the deaf.
It was found out that the state was building 21 schools nationwide from 1952 to 2017. Its mindset was patronage-oriented and the administration was centralized. The state was not recognizing how sign language effected the learning ability of the deaf. The deaf could not accomplish gaining knowledge to exercise power as a citizen with equal rights. Lack of knowledge was a lost opportunity for all aspects of life.
The politics movement continually developed until the National Association of the Deaf in Thailand was founded, hence subsequently working cooperatively with the Council of Disabled People of Thailand deaf persons could receive benefits for people living with a disability, but other types of disabilities were able to take better advantage. The special education system for the deaf still lagged behind.
It's a challenging to draw new power relationships between the state and deaf community, empower, support and create a channel for the deaf to take a major role on education provision. The state also needs to consider to provide services according to the differences in need of individuals living with disabilities.