การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาบทบาทขององค์กรเพื่อคนพิการในการส่งเสริมอาชีพคนพิการในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรคนพิการและคนพิการที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพจำนวนทั้งสิ้น 20 ราย ซึ่งภายในบทความชิ้นนี้จะนำเสนอกระบวนการจัดการและปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมอาชีพคนพิการของประเทศต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยนำมาเปรียบเทียบจุดต่างและจุดที่คล้ายคลึงกัน มุ่งหวังเพื่อนำมาใช้พัฒนาต่อยอดให้แก่คนพิการทั่วไปในอนาคต
ผลการวิจัย พบว่า บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในแต่ละประเทศมีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่องของสภาพแวดล้อม ยกเว้น ประเทศเวียดนามและประเทศไทยที่องค์กรเพื่อคนพิการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะประเทศไทยพบว่าเป็นองค์กรเพื่อคนพิการที่มีความเข้มแข็งและเป็นต้วอย่างที่ดีของทั้ง 5 ประเทศ กระบวนการส่งเสริมอาชีพคนพิการเน้นการพัฒนาศักยภาพให้คนพิการพึ่งพาตนเอง ปัญหาและอุปสรรคพบว่าภาคสังคมยังไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ จึงส่งผลให้คนพิการไม่ได้รับการจ้างงาน
ข้อเสนอแนะ องค์กรเพื่อคนพิการควรเป็นการทำงานแบบไตรภาคี ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคสังคม และองค์กรเพื่อคนพิการและคนพิการ โดยภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับคนพิการควรเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ภาคสังคมควรให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ และคนพิการควรสนับสนุนความสามารถของคนพิการซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์กรเพื่อคนพิการให้เข้มแข็งและเป็นกลไกการดูแลคนพิการอย่างยั่งยืนต่อไป
This research is qualitative research. The purpose of the study is to examine the role of oragnizations for persons with disabilities in promoting employment of persons with disabilities in the Greater Mekong Sub region (GMS) which is consists of Laos, Burma, Cambodia, Vietnam and Thailand. In-depth interview is used for collecting data from a total of 20 participants; executives of the organizations for persons with disabilities including the persons with disabilities who have been supported for employment. In this study, management process and barriers relating to employment promotion for persons with disabilities in the countries mentioned above are presented by comparing differences and similarities. As this can be beneficial for further development for person with disabilities in general in the future.
The research found that the political, economic, social, cultural contexts and related laws for development of quality of perons with disabilities in Great Mekong Sub Region were similar in terms of social environments except Vietnam and Thailand that the organization was strongly supported by the Government. The research also found that the organization for persons with disabilities in Thailand was empowered and inspried other countries in Great Mekong Sub Region as a role model for development. The promoting processes were mainly self-independent focused. Regarding to the problem and obstacles in promoting occupation for persons with disabilities in Great Mekong Sub Region found that the civil society was denied to comply with the government's laws which resulting to less employment of persons with disabilities in their country.
The recommendation is the organization for persons with disabilities in Great Mekong Sub Region should be tripartite which consists of Government sector, Civil Society, and Organization for persons with disabilities and people with disability. Government sector and related sectoral bodies should comply with the Convention of the Rights of Persons with Disabilities. The Civil Society should work collaborative and executive under the government's policies. Persons with Disabilities should each other in order to mobilize and strengthen the organization for persons with disabilities as the mechanism of the sustainable development for persons with disabilities.