DSpace Repository

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรพินท์ สีขาว
dc.contributor.advisor Orapin Sikaow
dc.contributor.advisor นภาพร แก้วนิมิตชัย
dc.contributor.advisor Napaporn Kaewnimitchai
dc.contributor.author พรทิพย์ ชูตินันท์
dc.contributor.author Porntip Chutinan
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2025-04-13T08:01:33Z
dc.date.available 2025-04-13T08:01:33Z
dc.date.issued 2008
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3793
dc.description การศึกษาด้วยตนเอง (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 en
dc.description.abstract การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประเทศสหรัฐอเมริกา (Soukup, 2000) และใช้เกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยระดับความน่าเชื่อถือได้ของเมริค และไฟท์เอา-โอเวอร์ ฮอล์ท (Melnyl and Fineout-Overholt, 2005) รวมทั้งใช้แนวทางการประเมินความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นของโพลิท และเบท (Polit & Beck, 2004) ซึ่งมีขั้นตอนเริ่มต้นด้วยการคิดวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำศูนย์สุขภาพและปัญหาของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในการป้องกันการเกิดแผลกดทับด้วยการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์โดยกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นจากระบบฐานข้อมูล Medline, Cinahl, Pubmed, Cochrance, Ovid, Blackwell Synergy ได้งานวิจัยระหว่างปี ค.ศ. 1995-2006 ที่ตรงประเด็นปัญหา จำนวน 23 เรื่อง ประกอบด้วย Systematic Reviews 2 เรื่อง Meta Analysis 1 เรื่อง Quasi-experimental Research 2 เรื่อง Descriptive Research 4 เรื่อง Prospective Research / Cohort Study 4 เรื่อง Action / Operational Research 4 เรื่อง และ Expert’s Opinion 6 เรื่อง ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิง จากนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยดังกล่าว จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ก) แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สำหรับพยาบาลศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ประกอบด้วย (1) การลดแรงกด (2) การลดแรงเสียดทานและแรงเฉือน (3) การดูแลผิวหนัง (4) การดูแลภาวะโภชนาการ (5) การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาบางชนิดที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว (6) การประเมินสภาพผิวหนัง (7) การให้ความรู้ คำแนะนำแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล (8) การเยี่ยมบ้าน (9) การประเมินการเกิดแผนกดทับ ข) แนวปฏิบัติการดูแลในการป้องกันการเกิดแผนกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไมม่ได้สำหรับผู้ดูแล ประกอบด้วย (1) การลดแรงกด (2) การลดแรงเสียดทานและแรงเฉือน (3) การดูแลผิวหนัง (4) การดูแลภาวะโภชนาการ (5) การดูแลผู้ที่ได้รับยาบางชนิด (6) การประเมินสภาพผิวหนัง และ (7) การประเมินการเกิดแผลกดทับภายหลังการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลให้พยาบาลในศูนย์สุขภาพชุมชนทดลองใช้กับผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พบว่าสามารถป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล มีความพึงพอใจที่ได้รับการสอนและคำแนะนำในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ ข้อเสนอแนะ : ควรมีการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้กับผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น และในระยะเวลานานขึ้นเพื่อนำผลมาสรุป วิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ และมีการบูรณาการแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของศูนย์สุขภาพชุมชน en
dc.description.abstract The purpose of this study is to develop clinical nursing practice guideline (CNPG) on pressure ulcers prevention in helpless patients by adapting Evidence Based Practice Model of the High Nursing Practice Center, U.S.A. (Soukup, 2000) Evaluation standard on the intensity of evidence with high reliability level of Melnyk & Fineout-Overholt (2005), and evaluation model on reliability of nursing practice guideline set up by Polit & Beck (2004) were adapted and used as framework for the study. The development began with analysis of the problems of nursing practice at Primary Care Unit. Keywords were specified in the search of relevant evidences. From the research study of Medline, Cinahl, Pubmed, Cochrance Ovid, Blackwell Synergy between the 1995-2006, which consisted of two systematic reviews, one meta analysis, two quasi-experimental research, four descriptive research, four prospective research / cohort study, four action / operational research, and six expert’s opinion were selected to determine on reliability of evidences. From the analysis and synthesis of the said research literatures the CNPG on pressure ulcers prevention in helpless patients which consisted of 2 parts: Part 1 – a clinical nursing practice guideline to prevent pressure ulcers in helpless patients for nursed at Primary Care Unit : (1) reducing pressure (2) reducing piercing and biting effects (3) providing skin care (4) providing quality nutrition (5) care of patients who receive medicine (6) evaluation of the skin (7) nursing practice at home visit (8) providing knowledge and advicement (9) evaluating the pressure ulcers. Part 2 – a clinical nursing practice guideline to prevent pressure ulcers in helpless patients for caregivers : (1) reducing pressure (20 reducing piercing and biting effects (3) providing skin care (4) control of nutrition quality (5) care for the patients who receive medicine (6) assessment on skin conditions and (7) evaluation on pressure ulcers. After the use of clinical nursing practice guideline by nurses in helpless patients with pressure ulcers at Primary Care Unit, it has been found that there was no pressure ulcers in helpless patients and the patients themselves, their families and caregivers were satisfied with the instructions and advicement to prevent pressure ulcers. Suggestions: This guidelines should be continually to the more patients and length of time to evaluated and improved to the best practice guideline. It should be integrated. The guideline to the practice for quality improvement of Primary Care Unit. en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject แผลกดทับ – การป้องกัน en
dc.subject Bedsores -- Prevention en
dc.subject ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ en
dc.subject ผู้ป่วยติดเตียง en
dc.subject Bedridden en
dc.subject การดูแลผู้ป่วยระยะยาว en
dc.subject Long-term care of the sick en
dc.subject แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก en
dc.subject Clinical nursing practice guideline en
dc.subject แผลเปื่อย – การป้องกัน en
dc.subject Ulcers -- Prevention en
dc.title การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ en
dc.title.alternative The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline on Pressure Ulcers Prevention in Helpless Patients en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account