dc.contributor.advisor |
จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร |
|
dc.contributor.advisor |
Jaturong Boonyarattanasoontorn |
|
dc.contributor.author |
พระเลิศกมลชัย บุญยงค์ |
|
dc.contributor.author |
Lerdhkamonchai Boonyong |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2025-04-13T09:08:24Z |
|
dc.date.available |
2025-04-13T09:08:24Z |
|
dc.date.issued |
2011 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3797 |
|
dc.description |
การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษาอิสระ เรื่อง “การใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ : ศึกษากรณีผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และแสวงหาแนวทางในการส่งเริมให้มีการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ให้มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกลุ่มนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพในหน่วยงานรัฐ 5 หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในองค์กรภาคประชาสังคมอีก 5 หน่วยงาน จำนวน 10 คน
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร เห็นว่า หลักพุทธธรรมซึ่งประกอบด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 หลักอิทธิบาท 4 หลักพรหมวิหาร 4 และหลักโยนิโสมนสิการ มีความเชื่อมโยงกับหลักการดำเนินงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์เป็นอย่างมาก หากพิจารณาในแต่ละหลักธรรม พบว่า หลักสังคหวัตถุ 4 ในหลักธรรมข้อทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา มีความเชื่อมโยงกับงานสังคมสงเคราะห์ แต่ขึ้นอยู่กับว่านักสังคมสงเคราะห์นั้นจะปฏิบัติตามหลักธรรมหรือไม่ เป็นการสะท้อนอย่างชัดเจนว่านักสังคมสงเคราะห์ จึงควรเป็นผู้ที่ต้องทำงานด้วยจิตวิญญาณอย่างแท้จริง สำหรับหลักธรรมข้อสมานัตตา จากการศึกษาพบว่ามีผู้แสดงความเห็นค่อนข้างน้อย หลักอิทธิบาท 4 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ในหลักธรรมข้อนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์จะนำมาประยุกต์กับตนเองเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หลักพรหมวิหาร 4 ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าสามารถนำมาใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ได้ทุกข้อ โดยจะนำมาใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้รับบริการและสภาพปัญหาที่พบ ร่วมกับทักษะและความชำนาญของนักสังคมสงเคราะห์แต่ละคนว่าจะนำมาใช้ได้อย่างสอดคล้องได้หรือไม่เป็นผลมาจากการให้บริการทางสังคมสงเคราะห์นั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการปฏิบัติงานเพือ่มุ่งหวังให้ผู้รับบริการได้รับความสุข พ้นจากปัญหา และความเดือนร้อน ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่า แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลจากการสัมภาษณ์หลักธรรมเป็นรายข้อ พบว่า ในหลักธรรมข้อ อุเบกขา ที่หมายถึงการรู้จักวางเฉย การวางใจเป็นกลาง เพราะพิจารณาเห็นว่าใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจต่อหลักธรรมนี้คลาดเคลื่อนไปโดยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าหมายถึง เวลามีผู้รับบริการมาใช้บริการให้แสดงอาการนิ่งเฉย ไม่ยินดียินร้ายในปัญหาของผู้รับบริการ และไม่ต้องสนใจปัญหา แสดงให้เห็นว่า ผู้ให้สัมภาษณ์รับรู้ในหลักอุเบกขาที่ไม่ชัดเจนหลักโยนิโสมนสิการ จากการสัมภาษณ์ พบว่า นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพทุกท่านล้านนำหลักโยนิโสมนสิการมาใช้ประกอบในการทำงาน ส่วนของอาสาสมัครไม่ได้เป็นนักวิชาชีพพบว่า ยังเข้าใจหลักโยนิโสมนสิการไม่ชัดเจน จากการสัมภาษณ์จึงสรุปได้ว่า ยังไม่สามารถนำมาใช้ประกอบในการทำงานได้มากนัก
ปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์เกิดขึ้นจากบุคคล เนื่องจากปัญหาในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การตีความหมายของหลักธรรมต่างๆ ขาดความชัดเจน จึงไม่สามารถนำหลักธรรมต่างๆ มาเชื่อมโยงกับการทำงานอย่างแท้จริง ประกอบกับขาดการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบ ขาดการประสานงานที่ดี ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ และขาดการบูรณาการทางความคิด จึงทำให้ขาดความคิดแบบโยนิโสมนสิการ
แนวทางในการส่งเสริมให้มีการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ในทางปฏิบัติ นักสังคมสงเคราะห์ควรยึดหลักทางสายกลาง ควรเข้าใจและเกิดการตระหนักรู้ในตนเอง และควรมีการบริหารกายและใจให้เกิดสติและปัญญา ควรพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักธรรมให้เข้าใจง่าย ชัดเจน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้จริง รณรงค์ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริการแก่ผู้รับบริการ เน้นการทำงานอย่างมีความสุข และมีเป้าหมายการทำงานเพื่อผู้รับบริการและสังคมอย่างแท้จริง |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน |
en |
dc.subject |
พุทธศาสนากับสังคม |
en |
dc.subject |
พุทธธรรม |
en |
dc.subject |
สังคมสงเคราะห์ |
en |
dc.subject |
Public welfare |
en |
dc.subject |
นักสังคมสงเคราะห์ |
en |
dc.subject |
Social workers |
en |
dc.subject |
Buddhism |
en |
dc.title |
การใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ : ศึกษากรณี ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ในเขตกรุงเทพมหานคร |
en |
dc.title.alternative |
Principal of Buddhism and Social Work in Action : A Case Study of Social Workers in Government and Non-Governmental Organizations in Bangkok |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม |
en |