DSpace Repository

การใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ : ศึกษากรณี ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.advisor Jaturong Boonyarattanasoontorn
dc.contributor.author พระเลิศกมลชัย บุญยงค์
dc.contributor.author Lerdhkamonchai Boonyong
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2025-04-13T09:08:24Z
dc.date.available 2025-04-13T09:08:24Z
dc.date.issued 2011
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3797
dc.description การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554 en
dc.description.abstract การศึกษาอิสระ เรื่อง “การใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ : ศึกษากรณีผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์และปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และแสวงหาแนวทางในการส่งเริมให้มีการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ให้มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกลุ่มนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพในหน่วยงานรัฐ 5 หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในองค์กรภาคประชาสังคมอีก 5 หน่วยงาน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร เห็นว่า หลักพุทธธรรมซึ่งประกอบด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 หลักอิทธิบาท 4 หลักพรหมวิหาร 4 และหลักโยนิโสมนสิการ มีความเชื่อมโยงกับหลักการดำเนินงานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์เป็นอย่างมาก หากพิจารณาในแต่ละหลักธรรม พบว่า หลักสังคหวัตถุ 4 ในหลักธรรมข้อทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา มีความเชื่อมโยงกับงานสังคมสงเคราะห์ แต่ขึ้นอยู่กับว่านักสังคมสงเคราะห์นั้นจะปฏิบัติตามหลักธรรมหรือไม่ เป็นการสะท้อนอย่างชัดเจนว่านักสังคมสงเคราะห์ จึงควรเป็นผู้ที่ต้องทำงานด้วยจิตวิญญาณอย่างแท้จริง สำหรับหลักธรรมข้อสมานัตตา จากการศึกษาพบว่ามีผู้แสดงความเห็นค่อนข้างน้อย หลักอิทธิบาท 4 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ในหลักธรรมข้อนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์จะนำมาประยุกต์กับตนเองเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หลักพรหมวิหาร 4 ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าสามารถนำมาใช้ในงานสังคมสงเคราะห์ได้ทุกข้อ โดยจะนำมาใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้รับบริการและสภาพปัญหาที่พบ ร่วมกับทักษะและความชำนาญของนักสังคมสงเคราะห์แต่ละคนว่าจะนำมาใช้ได้อย่างสอดคล้องได้หรือไม่เป็นผลมาจากการให้บริการทางสังคมสงเคราะห์นั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการปฏิบัติงานเพือ่มุ่งหวังให้ผู้รับบริการได้รับความสุข พ้นจากปัญหา และความเดือนร้อน ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่า แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลจากการสัมภาษณ์หลักธรรมเป็นรายข้อ พบว่า ในหลักธรรมข้อ อุเบกขา ที่หมายถึงการรู้จักวางเฉย การวางใจเป็นกลาง เพราะพิจารณาเห็นว่าใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจต่อหลักธรรมนี้คลาดเคลื่อนไปโดยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าหมายถึง เวลามีผู้รับบริการมาใช้บริการให้แสดงอาการนิ่งเฉย ไม่ยินดียินร้ายในปัญหาของผู้รับบริการ และไม่ต้องสนใจปัญหา แสดงให้เห็นว่า ผู้ให้สัมภาษณ์รับรู้ในหลักอุเบกขาที่ไม่ชัดเจนหลักโยนิโสมนสิการ จากการสัมภาษณ์ พบว่า นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพทุกท่านล้านนำหลักโยนิโสมนสิการมาใช้ประกอบในการทำงาน ส่วนของอาสาสมัครไม่ได้เป็นนักวิชาชีพพบว่า ยังเข้าใจหลักโยนิโสมนสิการไม่ชัดเจน จากการสัมภาษณ์จึงสรุปได้ว่า ยังไม่สามารถนำมาใช้ประกอบในการทำงานได้มากนัก ปัญหาและอุปสรรคในการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์เกิดขึ้นจากบุคคล เนื่องจากปัญหาในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การตีความหมายของหลักธรรมต่างๆ ขาดความชัดเจน จึงไม่สามารถนำหลักธรรมต่างๆ มาเชื่อมโยงกับการทำงานอย่างแท้จริง ประกอบกับขาดการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบ ขาดการประสานงานที่ดี ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ และขาดการบูรณาการทางความคิด จึงทำให้ขาดความคิดแบบโยนิโสมนสิการ แนวทางในการส่งเสริมให้มีการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ในทางปฏิบัติ นักสังคมสงเคราะห์ควรยึดหลักทางสายกลาง ควรเข้าใจและเกิดการตระหนักรู้ในตนเอง และควรมีการบริหารกายและใจให้เกิดสติและปัญญา ควรพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักธรรมให้เข้าใจง่าย ชัดเจน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติได้จริง รณรงค์ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักสังคมสงเคราะห์และผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริการแก่ผู้รับบริการ เน้นการทำงานอย่างมีความสุข และมีเป้าหมายการทำงานเพื่อผู้รับบริการและสังคมอย่างแท้จริง en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน en
dc.subject พุทธศาสนากับสังคม en
dc.subject พุทธธรรม en
dc.subject สังคมสงเคราะห์ en
dc.subject Public welfare en
dc.subject นักสังคมสงเคราะห์ en
dc.subject Social workers en
dc.subject Buddhism en
dc.title การใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ : ศึกษากรณี ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ในเขตกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Principal of Buddhism and Social Work in Action : A Case Study of Social Workers in Government and Non-Governmental Organizations in Bangkok en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account