DSpace Repository

บทบาทของพระสงฆ์ในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ในภาคกลาง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฎฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya
dc.contributor.author พระสุพจน์ นุ่มแทน
dc.contributor.author Supot Numtan
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2025-04-13T09:40:17Z
dc.date.available 2025-04-13T09:40:17Z
dc.date.issued 2003
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3799
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 en
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง บทบาทของพระสงฆ์ในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ภาคกลาง ในธรรมวินัยเป็นหลักธรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับพุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะพระสงฆ์ซึ่งเป็นข้อบัญญัติเพื่ออุดหนุนค้ำจุนวิจยของพระสงฆ์ในความเจริญงอกงามของข้อวัตรปฏิบัติในการดำรงพระศาสนา อีกทั้งให้ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมนั่นก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นแก่นแท้ของการเจริญไตรสิกขาที่ถูกต้องตามหลักกระบวนการของพุทธศาสนิกชน แต่กระแสสังคมสมัยใหม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความเจริญรุ่งเรื่องพระศาสนา โดยมีจุดเน้นในการสร้างจุดแข็งทำให้เกิดค่านิยมเป็นสิ่งงดงามที่สำคัญ คือ บุญนิยม วัตถุนิยม ทุนนิยมและจิตนิยม นำไปสู่ในความเป็นเอกลักษณะทางวัฒนธรรมอันดีงาม เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมอย่างบริบูรณ์ไปโดยตลอด ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวิธีการเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูล เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ภาคกลาง จำนวน 384 รูป และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี อยู่ในช่วงพรรษา 1-5 มีการศึกษาฝ่ายโลก ระดับมัธยมศึกษา/ปวช. การศึกษาฝ่ายปริยัติธรรม ระดับนักธรรมชั้นเองและส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาฝ่ายธรรมบาลี จำพรรษาวัดประเภทปริยัติธรรมฝ่ายธรรม ในการปฏิบัติกิจวัตรของพระสงฆ์ พบว่า การปลงอาบัติอยู่ในลำดับแรก ส่วนรองลงมาการกวาดลานวัดลานเจดีย์ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การขวนขวายเรียนธรรมวินัย การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การเอาใจใส่กิจสงฆ์ การบริหารสิ่งของและร่างกาย การดำรงตนให้น่าไหว้ การบิณฑบาต เป็นต้น ส่วนพื้นฐานแก่นแท้ของหลักธรรม ด้านการปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในระดับปานกลาง บทบาทในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน ในแนวสังคมสมัยใหม่พบว่า ที่ให้ความเชื่อถือเห็นว่า บุญนิยมอยู่ลำดบที่แรก รองลงมา วัตถุนิยม ทุนนิยมและจิตนิยมอันดับท้ายสุด การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านพื้นฐานทางพระพุทธศาสนากิจวัตรของพระสงฆ์ และบทบาทในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชนพบว่า 1. การปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามกิจวัตรของพระสงฆ์ทุกข้อ และการมีบทบาทในการอบรมจริยธรรมทุกบทบาท 2. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักบุญนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้าน ขวนขวายเรียนธรรมวินัย การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การดำรงตนให้น่าไหว้ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การบริหารสิ่งของและร่างกาย การกวาดลานวัด ลานเจดีย์ เอาใจใส่กิจของสงฆ์ 3. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักวัตถุนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้านการทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การบริหารสิ่งของและร่างกาย เอาใจใส่กิจของสงฆ์ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การกวาดลานวัด ลานเจดีย์ การดำรงตนให้น่าไหว้ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การบิณฑบาต 4. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักทุนนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้าน การดำรงตนให้น่าไหว้ การบริหารสิ่งของและร่างกาย ขวนขวายเรียนธรรมวินัย การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การกวาดลานวัด ลานเจดีย์ การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ เอาใจใส่กิจของสงฆ์ 5. พระสงฆ์ที่มีบทบาทในการอบรมจริยธรรมตามหลักจิตนิยมจะมีการปฏิบัติกิจวัตรสูงในด้าน การบริหารสิ่งของและร่างกาย การดำรงตนให้น่าไหว้ การพิจารณาปัจเวกขณ์ การทำวัตรและสวดมนต์ไหว้พระ ขวนขวายเรียนธรรมวินัย การอุปฏฐากอุปัชฌาย์อาจารย์ การบิณฑบาต จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะได้ว่า สถาบันที่เกี่ยวข้องทางพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา ที่ได้รับผิดชอบตรวจดูความสงบเรียบร้อยและควรมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในด้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสมณสารรูปของพระสงฆ์ ซึ่งได้แก่องค์กรศาสนา วัดพุทธสถาน สำนักสงฆ์ ฯลฯ โดยเฉพาะระดับผู้นำภายในวัด (เจ้าอาวาส) ควรให้ความสำคัญต่อกิจวัตรที่พระสงฆ์ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยต้องมีมาตรการกำกับอย่างเข้มงวดเพื่อแก้ไขพฤติกรรมของพระสงฆ์ ขณะนี้สังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วควรมีการพัฒนาแนวทางที่ดีต่อพุทธศาสนิกชน ให้มีความเข้าใจเพื่อเป็นที่พึ่งที่นับถือและศรัทธาต่อพระสงฆ์ ควรละดระดับการพัฒนาวัตถุและหันมาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดสันติสุขตลอดไป en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject สงฆ์ -- ไทย (ภาคกลาง) en
dc.subject Buddhist monks – Thailand, Central en
dc.subject จริยธรรม – การศึกษาและการสอน en
dc.subject Ethics – Study and teaching en
dc.subject พุทธศาสนิกชน – ไทย en
dc.subject Buddhists – Thailand en
dc.subject สงฆ์กับการพัฒนาสังคม en
dc.subject Buddhist monks and social development en
dc.title บทบาทของพระสงฆ์ในการอบรมจริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ในภาคกลาง en
dc.title.alternative Monks' Roles in Moral Teaching : A Study of Monksin Central Part of Thailand en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบริหารสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account