DSpace Repository

ความต้องการกลับบ้านของเด็กเร่ร่อนในกรุงเทพและปริมณฑล

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
dc.contributor.advisor Saowanit Nitananchai
dc.contributor.author พัชรพล ศักรางกูร
dc.contributor.author Patcharapon Sakrangkul
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2025-04-13T10:55:57Z
dc.date.available 2025-04-13T10:55:57Z
dc.date.issued 2004
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3804
dc.description ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547 en
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “ความต้องการกลับบ้านของเด็กเร่ร่อนในกรุงเทพและปริมณฑล” วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในขณะเร่รอน ควมคาดหวังที่มีต่อสภาพแวดล้อมครอบครัวในอนาคตของเด็กเร่ร่อน การสนับสนุนทางสังคม และความต้องการกลับบ้านภายในระยะเวลา 1 ปีโดยไม่กลับมาเร่ร่อน รวมทั้งเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการกลับบ้านภายในระยะเวลา 1 ปีโดยไม่กลับมาเร่ร่อน ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากเด็กเร่ร่อนบริเวณที่สาธารณะและสถานที่ต่างๆ จำนวน 100 คน ใน 4 พื้นที่ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ในปริมณฑล ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์สำโรงสมุทรปราการ พัฒนพงศ์ สนามหลวง และสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร SPSS/PC+ (Statistical Package for The Social Science) โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ดังนี้ การใช้สถิติพรรณนา แสดงค่าร้อยละ (Percentage) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีผลต่อความต้องการกลับบ้านอย่างถาวร โดยใช้ตารางไขว้ (Crosstab) จากการศึกษา พบเด็กเร่รอนชาย ร้อยละ 65.0 อายุระหว่าง 15-17 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ร้อยละ 40.0 มีถิ่นเร่ร่อนเดิมอยู่ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 68.0 บิดาและมารดาเสียชีวิต ร้อยละ 27.0 บิดาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 34.0 มารดาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และเป็นขอทาน จำนวนเท่ากัน ร้อยละ 21.0 ก่อนออกจากบ้าน เด็กเร่รอนส่วนใหญ่มีสมาชิกครอบครัวอยู่รวมกัน 3-4 คน ร้อยละ 54.0 อาศัยอยู่กับมารดาร้อยละ 34.0 อยู่ในชุมชนแออัดในเมือง ร้อยละ 61.0 เด็กเร่รอนส่วนใหญ่ออกมาเร่ร่อน เพราะครอบครัวแตกแยก ร้อยละ 27.0 ออกมาเร่รอนเมื่ออายุ 10-12 ปี ร้อยละ 46.0 ออกมาเร่ร่อนถาวร (ไม่เคยกลับไปหาครอบครัวเลยหรือนานมากจึงกลับไป) ร้อยละ 54.0 มีเพื่อนเร่ร่อนเป็นกลุ่ม ร้อยละ 87.0 ขณะเร่ร่อนส่วนใหญ่รับจ้างทำงาน (ยกแบกหาม กรรมการก่อสร้าง ฯลฯ) ร้อยละ 40.0 เคยเสพหรือขายและเสพหรือซื้อให้คนรู้จักหรือรับจ้างส่ง ร้อยละ 72.0 เคยถูกจับกุม ร้อยละ 58.0 โดยผุ้ที่เคยถูกจับกุมส่วนใหญ่ถูกจับ 1 ครั้ง ร้อยละ 56.9 ผู้ที่เคยถูกจับจะถูกจับ ข้อหาเสพหรือขายยาเสพติดทุกคน เด็กเร่ร่อน ส่วนใหญ่ต้องการกลับบ้านภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่กลับมาเร่ร่อนอีกร้อยละ 60.0 จากการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพบต่อความตั้งใจกลับบ้านของเด็กเร่ร่อน ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิภาคที่อยู่เดิมก่อนเร่ร่อน (ภาค) สาเหตุที่ออกมาเร่ร่อน ประเภทการเร่ร่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพที่อยู่อาศัย การยอมรับจากสังคม บรรยากาศในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว ชุมชน สถาบันและสังคม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกครอบครัวให้งดการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน โดยในการอบรมเลี้ยงดูบุตรควรใช้เหตุผลมากกว่าการแสดงพฤติกรรมความรุนแรง ครอบครัวควรมีการดูแลบุตรหลานของตนในการคบเพื่อน เพราะหากเด็กเร่ร่อน คบเพื่อนไม่ดี และคบเพื่อนที่เป็นเด็กเร่รอนแล้วก็ชักจูงกันไปในทางที่ไม่ดี และเมื่อคบเพื่อนที่ติดยาเสพติด จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการใช้ยาสูงและชักชวนกันไป เป็นเด็กเร่รอนได้สังคมควรมีการยอมรับและให้โอกาสเด็กเร่ร่อนให้กลับมาสู่สังคมใหม่ โดยไม่ควรรังเกียจให้โอกาสกลับมาเป็นคนดีในสังคม และครอบครัวและชุมชนควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์มีการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและพิษภัยจากยาเสพติด พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกรู้รับผิดชอบตนเองไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรวิจัยเพื่อศึกษาหาสาเหตุของการออกมาเป็นเด็กเร่ร่อนในเพศหญิงโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อจะได้เจาะลึกถึงรายละเอียดว่าสาเหตุที่เพศหญิงออกมาเป็นเด็กเร่รอนเพราะอะไร เนื่องจากเพศหญิงที่ออกมาเป็นเด็กเร่ร่อนแล้วอาจนำไปสู่การขายบริการทางเพศได้ในที่สุด ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดของการเป็นเด็กเร่ร่อนในผู้หญิงเพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาของการออกมาเป็นเด็กเร่ร่อนในเพศหญิงต่อไป ควรวิจัยหาทางออกของการเป็นเด็กเร่ร่อน เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เด็กมาเป็นเด็กเร่ร่อน ก่อปัญหาให้กับสังคมและประเทศชาติ en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject เด็กเร่ร่อน – ไทย en
dc.subject เด็กจรจัด – ไทย en
dc.subject Vagrant children – Thailand en
dc.subject ความคาดหวัง (จิตวิทยา) en
dc.subject Expectation (Psychology) en
dc.subject การสงเคราะห์เด็ก -- ไทย en
dc.subject Child welfare – Thailand en
dc.subject การสนับสนุนทางสังคม en
dc.subject Social support en
dc.subject สิทธิเด็ก en
dc.subject Children's rights en
dc.title ความต้องการกลับบ้านของเด็กเร่ร่อนในกรุงเทพและปริมณฑล en
dc.title.alternative Expectation to Return Home of Street Children in Bangkok and it's Peripheral en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบริหารสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account