dc.contributor.advisor |
เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย |
|
dc.contributor.advisor |
Saowanit Nitananchai |
|
dc.contributor.author |
พัชรพล ศักรางกูร |
|
dc.contributor.author |
Patcharapon Sakrangkul |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2025-04-13T10:55:57Z |
|
dc.date.available |
2025-04-13T10:55:57Z |
|
dc.date.issued |
2004 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3804 |
|
dc.description |
ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง “ความต้องการกลับบ้านของเด็กเร่ร่อนในกรุงเทพและปริมณฑล” วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในขณะเร่รอน ควมคาดหวังที่มีต่อสภาพแวดล้อมครอบครัวในอนาคตของเด็กเร่ร่อน การสนับสนุนทางสังคม และความต้องการกลับบ้านภายในระยะเวลา 1 ปีโดยไม่กลับมาเร่ร่อน รวมทั้งเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการกลับบ้านภายในระยะเวลา 1 ปีโดยไม่กลับมาเร่ร่อน ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากเด็กเร่ร่อนบริเวณที่สาธารณะและสถานที่ต่างๆ จำนวน 100 คน ใน 4 พื้นที่ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ในปริมณฑล ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์สำโรงสมุทรปราการ พัฒนพงศ์ สนามหลวง และสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร SPSS/PC+ (Statistical Package for The Social Science) โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ดังนี้ การใช้สถิติพรรณนา แสดงค่าร้อยละ (Percentage) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีผลต่อความต้องการกลับบ้านอย่างถาวร โดยใช้ตารางไขว้ (Crosstab)
จากการศึกษา พบเด็กเร่รอนชาย ร้อยละ 65.0 อายุระหว่าง 15-17 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ร้อยละ 40.0 มีถิ่นเร่ร่อนเดิมอยู่ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 68.0 บิดาและมารดาเสียชีวิต ร้อยละ 27.0 บิดาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 34.0 มารดาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และเป็นขอทาน จำนวนเท่ากัน ร้อยละ 21.0 ก่อนออกจากบ้าน เด็กเร่รอนส่วนใหญ่มีสมาชิกครอบครัวอยู่รวมกัน 3-4 คน ร้อยละ 54.0 อาศัยอยู่กับมารดาร้อยละ 34.0 อยู่ในชุมชนแออัดในเมือง ร้อยละ 61.0
เด็กเร่รอนส่วนใหญ่ออกมาเร่ร่อน เพราะครอบครัวแตกแยก ร้อยละ 27.0 ออกมาเร่รอนเมื่ออายุ 10-12 ปี ร้อยละ 46.0 ออกมาเร่ร่อนถาวร (ไม่เคยกลับไปหาครอบครัวเลยหรือนานมากจึงกลับไป) ร้อยละ 54.0 มีเพื่อนเร่ร่อนเป็นกลุ่ม ร้อยละ 87.0 ขณะเร่ร่อนส่วนใหญ่รับจ้างทำงาน (ยกแบกหาม กรรมการก่อสร้าง ฯลฯ) ร้อยละ 40.0 เคยเสพหรือขายและเสพหรือซื้อให้คนรู้จักหรือรับจ้างส่ง ร้อยละ 72.0 เคยถูกจับกุม ร้อยละ 58.0 โดยผุ้ที่เคยถูกจับกุมส่วนใหญ่ถูกจับ 1 ครั้ง ร้อยละ 56.9 ผู้ที่เคยถูกจับจะถูกจับ ข้อหาเสพหรือขายยาเสพติดทุกคน
เด็กเร่ร่อน ส่วนใหญ่ต้องการกลับบ้านภายในระยะเวลา 1 ปี โดยไม่กลับมาเร่ร่อนอีกร้อยละ 60.0
จากการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพบต่อความตั้งใจกลับบ้านของเด็กเร่ร่อน ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิภาคที่อยู่เดิมก่อนเร่ร่อน (ภาค) สาเหตุที่ออกมาเร่ร่อน ประเภทการเร่ร่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับยาเสพติด ฐานะทางเศรษฐกิจ สภาพที่อยู่อาศัย การยอมรับจากสังคม บรรยากาศในครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว ชุมชน สถาบันและสังคม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกครอบครัวให้งดการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน โดยในการอบรมเลี้ยงดูบุตรควรใช้เหตุผลมากกว่าการแสดงพฤติกรรมความรุนแรง ครอบครัวควรมีการดูแลบุตรหลานของตนในการคบเพื่อน เพราะหากเด็กเร่ร่อน คบเพื่อนไม่ดี และคบเพื่อนที่เป็นเด็กเร่รอนแล้วก็ชักจูงกันไปในทางที่ไม่ดี และเมื่อคบเพื่อนที่ติดยาเสพติด จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการใช้ยาสูงและชักชวนกันไป เป็นเด็กเร่รอนได้สังคมควรมีการยอมรับและให้โอกาสเด็กเร่ร่อนให้กลับมาสู่สังคมใหม่ โดยไม่ควรรังเกียจให้โอกาสกลับมาเป็นคนดีในสังคม และครอบครัวและชุมชนควรรณรงค์ประชาสัมพันธ์มีการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและพิษภัยจากยาเสพติด พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกรู้รับผิดชอบตนเองไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรวิจัยเพื่อศึกษาหาสาเหตุของการออกมาเป็นเด็กเร่ร่อนในเพศหญิงโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อจะได้เจาะลึกถึงรายละเอียดว่าสาเหตุที่เพศหญิงออกมาเป็นเด็กเร่รอนเพราะอะไร เนื่องจากเพศหญิงที่ออกมาเป็นเด็กเร่ร่อนแล้วอาจนำไปสู่การขายบริการทางเพศได้ในที่สุด ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดของการเป็นเด็กเร่ร่อนในผู้หญิงเพื่อจะได้ป้องกันและแก้ไขปัญหาของการออกมาเป็นเด็กเร่ร่อนในเพศหญิงต่อไป ควรวิจัยหาทางออกของการเป็นเด็กเร่ร่อน เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เด็กมาเป็นเด็กเร่ร่อน ก่อปัญหาให้กับสังคมและประเทศชาติ |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
เด็กเร่ร่อน – ไทย |
en |
dc.subject |
เด็กจรจัด – ไทย |
en |
dc.subject |
Vagrant children – Thailand |
en |
dc.subject |
ความคาดหวัง (จิตวิทยา) |
en |
dc.subject |
Expectation (Psychology) |
en |
dc.subject |
การสงเคราะห์เด็ก -- ไทย |
en |
dc.subject |
Child welfare – Thailand |
en |
dc.subject |
การสนับสนุนทางสังคม |
en |
dc.subject |
Social support |
en |
dc.subject |
สิทธิเด็ก |
en |
dc.subject |
Children's rights |
en |
dc.title |
ความต้องการกลับบ้านของเด็กเร่ร่อนในกรุงเทพและปริมณฑล |
en |
dc.title.alternative |
Expectation to Return Home of Street Children in Bangkok and it's Peripheral |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การบริหารสังคม |
en |