การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการควบคุมระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง กลุ่มเสี่ยงน้อยและปานกลาง โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประเทศสหรัฐอเมริกา (Soukup. 2000) เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การศึกษาเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดของศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามด้วยการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการและแหล่งการสืบค้นที่หลากหลาย ได้หลักฐานจำนวน 11 เรื่อง เป็นการวิเคราะห์เมต้าของงานวิจัยเชิงทดลอง 3 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง 5 เรื่อง งานวิจัยกึ่งทดลอง 1 เรื่อง และรายงานจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะ 2 เรื่อง จากนั้นนำหลักฐานที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สร้างข้อสรุปในภาพรวมขององค์ความรู้ที่ได้จากหลักฐานทั้งหมด ร่วมกับบูรณาการความรู้ใหม่ที่ได้เข้ากับประสบการณ์การปฏิบัติงานทางคลินิกและบริบทของหน่วยงาน พัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลในการส่งเสริมการควบคุมระดับไขมันในเลือดผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงขึ้น แนวปฏิบัตินี้ประกอบด้วย 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ระยะที่ 2 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความรู้เกี่ยวกับไขมันในเลือดสูงและแนวทางการปฏิบัติตัว ระยะที่ 3 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการติดตามประเมินผลและให้คำปรึกษา ระยะที่ 4 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการกระตุ้นเตือนหรือเสริมแรงการปฏิบัติตน และระยะที่ 5 แนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินระดับไขมันในเลือดและพฤติกรรม การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และได้นำสู่การทดลองปฏิบัติกับผู้รับบริการ 3 รายที่มารับบริการในศูนย์สุขภาพชุมชน ผลการทดลองใช้พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นสามารถใช้ในการส่งเสริมการควบคุมระดับไขมันในเลือด ในหน่วยบริการปฐมภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ
This study was aimed to develop a Clinical Nursing Practice Guideline (CNPG) for promoting the control of blood cholesterol in mild and moderate risk group. The evidence-based practice model developed by the Center for Advanced Nursing Practice Evidence-Based Practice Model in the United Stated (Sookup. 2000) was applied as a framework in this study. The study began with an analysis of cardiovascular disease problem, in a Primary Care Unit (PCU) of Bangkok, and then searched for related evidences from various strategies and sources. Eleven evidences were retrieved, comprising three meta-analysis of randomized control trials, five randomized control trials, one quasi-experimental study and two expert’s guidelines. These evidences were analyzed and synthesized to received new body of knowledge. The integration of new knowledge, clinical experiences and context of the setting were performed to develop a clinical practice guideline for promoting the control of blood cholesterol in mild and moderate risk group. This CNPG was composed of five phases. First phase was the clinical nursing practice guideline in screening of risk group of cardiovascular disease. Second phase was the clinical nursing practice guideline in giving knowledge and practice for lowering blood cholesterol. Third phase was the clinical nursing practice guideline in evaluating dietary and exercise behaviors as well as giving consultation to solve problem of individuals. Forth phase was the clinical nursing practice guideline in encouraging clients to continue performing healthy behaviors. Final phase was the clinical nursing practice guideline in evaluating blood cholesterol and dietary and exercise behaviors. This CNPG was validated by 3 experts and applied to use in a primary care setting with three clients. The observation suggested that this CNPG could be able to use for promoting the control of blood cholesterol in primary care unit setting with effectiveness.