DSpace Repository

การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor กนกพร นทีธนสมบัติ
dc.contributor.advisor กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
dc.contributor.advisor Kanokporn Nateetanasombat
dc.contributor.advisor Kamonthip Khungtumneum
dc.contributor.author พัชรากร เพ็ญศิริสมบูรณ์
dc.contributor.author Patcharakorn Pensirisomboon
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-06-05T15:18:06Z
dc.date.available 2022-06-05T15:18:06Z
dc.date.issued 2019
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/384
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562 th
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งกครรภ์ (CNPG-RGDM) โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษณ์ของซูคัพ (Soukup, 2000 : 301-309 อ้างถึงใน ฟองคำ ดิลกสกุลชัย, 2554 :67-68) และศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น การศึกษามี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์โดยได้สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 107 เรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2556-2561 นำ มาวิเคราะห์ได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้ว พบวา มีจำนวน 20 เรื่อง ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำแนกโดยใช้แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และขั้นตอนที่ 2 กำ หนดการพยาบาลตามระดับความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ระยะที่ 2 ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลและการประเมินผลลัพธ์ดี กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จำนวน 28 ราย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 96.43 และมีความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 3.57 โดยสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจะได้รับการให้คำปรึกษาเพื่อปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต คู่มือการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ประกอบด้วย แบบบันทึกรายการอาหาร แคลอรี่ที่ได้รับต่อวีน และบันทึกการออกกำลังกาย ภายหลังได้รับแนวปฏิบัติการพยาบาลนาน 1 สัปดาห์ และติตตามผลเมื่ออายุครรภ์ 24 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างตรวจไม่พบระดับน้ำตาลในปัสสาวะ คิดเป็นร้อยละ 100 และมีน้ำ หนักขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานไม่เกิน 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 89.29 th
dc.description.abstract This research aimed to develop clinical nursing practice guideline for pregnant women with risk to gestational diabetes mellitus (CNPG-RGDM) bu using Soukup's eveidence-based practice and also aimed to apply CNPG-RGDM for pregnant women with risk of gestational diabeted mellitus. The results could divide into 2 phases. First phase was the development of CNPG-RGDM, which one hundred and seven articles had been searched, and yet twenty articles had relevant to nursing care for pregnant women with risk of GDM and GDM, which articles were in between 2013 to 2018. This development of CNPG-RGDM was composed of two processes, which were screening process for risk of GDM group by using assessment form for screening risk, and the process of nursing care relevant to level of risk of GDM and continuing follow up. Second phase was to apply this CNPG-RGDM. The samples were twenty-eight pregnant women with risk of GDM, who came to receive service for the first time to twenty eight weeks of gestational age. The study found that most pregnant women were in the high risk GDM with 96.43 percentage. The low risk was 3.57 percentage. These pregnant women with risk of GDM had received the consultation, adjusted life style behaviors, and received handbook in order to record food consumption per dat and record calories and suitable exercise. Final results after 1 week of applying CNPG-RGDM and follow up found that they had body weight not over 0.5 gram per week with 89.29 percentage and not found sugar in the urine last ANC visit at all case. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject เบาหวานขณะตั้งครรภ์ th
dc.subject Diabetes in pregnancy th
dc.subject ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ th
dc.subject Pregnancy -- Complications th
dc.subject น้ำตาลในเลือด th
dc.subject Blood sugar th
dc.title การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ th
dc.title.alternative Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Pregnant Women with Risk of Gestational Diabetes Mellitus th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account