การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในมุมมองของพยาบาลวิชาชีพ และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยบุคคล 2 กลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพ 10 รายและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน 12 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ซึ่งผู้วิจัยนำแบบประเมินบาร์เธล แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกพยาบาลวิชาชีพ และแนวคำถามการสนทนากลุ่มระหว่างพยาบาลวิชาชีพและผู้ดูแลผู้ป่วย ผลการวิจัยในครั้งนี้ ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากมุมมองของพยาบาลวิชาชีพ และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่งจำหน่ายกลับบ้าน และเมื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พบว่า มีความพึงพอใจระดับมาก คะแนนความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยดีขึ้น และไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
This action research aimes to develop a model of care for stroke patients given by professional nurses and caregivers at the private hospital in Bangkok. Two group of purposive sample were ten professional nurses and twelve caregivers. The research instruments consisted of a model of care for stroke patients, demographic data of stroke patients, caregivers, and professional nurses, Barthel ADL Index, caregivers' satisfaction, complication record, in-depth interview guides for caregivers and professional nurse, and focus group guides for caregivers and professional nurse. This result found the a model of care for stroke patients given by professional nurses and caregivers since the patient had been hospitalized until discharged. After assessing caregivers satisfaction, it was found that caregivers who applied this model of care have had high satisfaction for providing their care. Also the score of Barthel ADL Index had been better and the patients had no complications. This model of care for stroke patients could be useful for applying care for stroke patients in order to improve their quality of lives.