dc.contributor.advisor |
ทวีศักดิ์ กสิผล |
|
dc.contributor.advisor |
ชฎาภา ประเสริฐทรง |
|
dc.contributor.advisor |
Taweesak Kasiphol |
|
dc.contributor.advisor |
Chadapa Prasertsong |
|
dc.contributor.author |
ฐิติวรดา แคนดา |
|
dc.contributor.author |
Thitivarada Canda |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-07T14:24:53Z |
|
dc.date.available |
2022-06-07T14:24:53Z |
|
dc.date.issued |
2019 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/395 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562 |
th |
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) 4 เดือน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561-ธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 30 คน คัดเลือกแบบการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นแบบอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองได้รับการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติและกลุ่มควบคุมปฏิบัติงานการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ 1) คู่มือโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ โดยเนื้อหาประกอบด้วย เรื่องย่อยทั้งหมด 4 หน่วย ดังนี้ 1) กิจกรรมคุณค่าและหน้าที่ต่อผู้ป่วยจิตเภท 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภท 3) แบบประเมินอาการทางจิตเภทของผู้ป่วยจิตเภทและการแจ้งผล และ 4) บทบาทและขอบเขตของพยาบาลเวชปฏิบัติในระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชระดับปฐมภูมิและการดูแลผู้ป่วยจิตเภทตามบทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติและวัดประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ซึ่งมีจำนวน 72 ข้อ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นและประยุกต์ใช้ทฤษฎีรูปแบบการเรียนการสอน รูปแบบซิปปา เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบซิปปา ประกอบด้วย ขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การทบทวนความรู้เดิม 2) การแสวงหาความรู้ใหม่ 3) การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4) การแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจกับกลุ่ม 5) การสรุปและจัดระเบียบความรู้ 6) การปฏิบัติและ/หรือการแสดงผลงาน และ 7) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนแบบทดสอบความรู้เรื่องโรคจิตเภทของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน คะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของพยาบาลเวชปฏิบัติกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรม การดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างพยาบาลเวชปฏิบัติกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
th |
dc.description.abstract |
Objective: Too study the effect of training program on schizonphernia patients' care for nurse practitioner.
Material and Method: This study was a quasi-experimental research, which had two group pretest-post test experiment. The sample was thirty professional nurses who received four-month training on nurse practitioner curriculum (primary medical care) and worked at health promoting hospital in Buriram province during October to December 2018. The sample was selected by simple random sampling. The experimental group received the schizophrenia care training program for nurse practitioner and the control group was an usual nursing care. The research instruments were 1) Manual of training Program on schizophrenia patients' care for nurse practitioners and Evaluate by seventy-two items schizophrenia knowledge test. The researcher applied the CIPPA Model as a framework of teaching, which foucused on student center, to the training program on schizophrenia patients' care for nurse practitioners. Data analysis were used descriptive statistics, mean, percentage, and t-test statistics for comparison of knowledge scores on schizophrenia. Results: The experimental group who participated in the schizophrenia care training progra, had higher score on knowledge of schizophrenia patient care than the control group with statistical significance at the level .01. Also, the experimental group had higher score on knowledge of schizophrenia patient care after participating the schizophrenia care training program than before participating program with statistical significance at the level .01 (mean before 46.10, mean after 62.10) |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
ผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแล -- การอบรม |
th |
dc.subject |
Schizophrenics -- Care -- Training |
th |
dc.title |
ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ |
th |
dc.title.alternative |
Effect of Training Program on Schizophrenia Patients' Care for Nurse Practitioners |
th |
dc.type |
Thesis |
th |
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
th |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
th |
dc.degree.discipline |
การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
th |