DSpace Repository

การพัฒนาระบบการพยาบาลอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทวีศักดิ์ กสิผล
dc.contributor.advisor วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
dc.contributor.advisor Taweesak Kasiphol
dc.contributor.advisor Vanida Durongrittichai
dc.contributor.author ฉบาไพร ทองหล่อ
dc.contributor.author Chabarpai Tonglor
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-06-09T14:21:12Z
dc.date.available 2022-06-09T14:21:12Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/398
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558 th
dc.description.abstract การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์พัฒนาระบบการพยาบาลอย่างมีส่วนร่วม เพื่อการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตัน แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ร่วมรับรู้ปัญหาการรับประทานยาไม่ต่อเนื่องของผู้ป่วยและวางแผนแก้ไขปัญหา ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการพยาบาล และ ระยะที่ 3 ประเมินผลระบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นและเปรียบเทียบความแตกต่างการรับรู้การรับประทานยาก่อน-หลัง ดำเนินการ เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือที่ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.93 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Paired t-test และวิเคราะห์เชิ่งเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41-60 ปี สถานภาพคู่ จบประถมศึกษาปีที่ 6 รายได้น้อย อาชีพรับจ้าง ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคซ้ำ รับรู้ความรุนแรงของโรค รับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาต่อเนื่องและมีแรงจูงใจที่จะป้องกันการเป็นโรคซ้ำระดับสูง แต่รับรู้อุปสรรคที่จะป้องกันการเป็นโรคซ้ำระดับต่ำ ผลวิเคราะห์ระบบการพยาบาลพบว่า พยาบาลมุ่งปฏิบัติตามแผนกรักษาและแผนการพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพต่างทำหน้าที่ตามบทบาทที่ตนรับผิดชอบ ประสานการใช้ยาระหว่างหน่วยงานน้อยและเห็นว่าการส่งเสริมการรับประทานยาเป็นเพียงงานย่อย ข้อมูลที่บันทึกไม่ได้รับการหยิบยกมาใช้ส่งเสริมการรับประทานยา กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 1) ร่วมสะท้อนปัญหาและสร้างแรงจูงใจให้เห็นความสำคัญในการรับประทานยาของผู้ป่วย 2) ออกแบบระบบการพยาบาลใหม่ และ 3) แลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่พัฒนาใหม่ หลักดำเนินการ พบว่าผู้ป่วยและครอบครัวร่วมวางแผนการใช้ยาของตนกับทีมสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นหุ้นส่วนเกิดการประสาน ทั้งเชิงหน้าที่เป็นทีม เจ้าของไข้ รายกรณีและดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ใช้ทรัพยากรเดิมที่มีมาสร้างนวัตกรรมจัดการยาลักษณะใหม่และบันทึกรวมทั้งส่งต่อการจัดยาด้วยสารสนเทศมากขึ้น ค่าเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ อุดตันซ้ำ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันการเกิดซ้ำและแรงจูงใจในการป้องกันการเกิดโรคซ้ำ สูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าเฉลี่ยก่อนพัฒนาระบบการพยาบาล = 3.83 ค่าเฉลี่ยหลังพัฒนาระบบการพยาบาล = 4.47) การศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรนำระบบการพยาบาลที่ได้ ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นหรือหน่วยงานที่มีบริบทใกล้เคียงกัน ปรับปรุงแบบสอบถามการรับรู้การรับประทานยา ค้นหาปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน th
dc.description.abstract Tha participatory action researcj (PAR) was aimed to develop the nursing system for adherence medication in patients with stroke. This research was divided into 3 phases : Phase 1 mutually recognize the discontinued medication problems in patients with stroke and figure out a solution, Phase 2 develop nursing system, and lastly Phase 3 evaluated the developed nursing system and compare the difference in perceived medication pre-and post-manipulation. Data collection and validation of content was conducted by a panel of five expert. Content validity was 0.93 and reliability was 0.83. Data analysis was implemented using descriptive ststistics, Paired t-test and content analysis. The results showed that the particiapants mainly were male, aged 41-60 years, married status, primary education, low-income, work as employee, exercise the right to the universal health coverage. They perceived the risk of recurrent diseases, the severity of the diseases, the benefits of taking the drug continuously and the motivation to prevent a recurrence of diseases in high levels. However, they perceived the prevent a recurrence of diseases in low level. The analysis of nursing system demonstrated that nurses focused on following the treatment plan and caring plan. The multidisciplinary teams performed their functions and roled under their responibility, less coordination between departments, and they believed that promoting a medication is simply a minor task. The recorded data has not been put forward to promote the medication. The development process comprises; 1) refelction on problems and motivation to recognize the importance of continuous medication in patients, 2) design new nursing system and 3) exchange and learn the innovative development. At post-manipulation, it found that the patients and family participated with the multidisciplinary teams on medication plan, bringing forth the functional coordination, team work, individual patient's owner, continuing care at home, taking advantages of the existing resources to create the innovative way of drug arrangement, more likely recording and delivering resources to create the innovative way of drug arrangement, more likely recording and delivering through information teachonology. Means of perceived risk of stroke, severity of the disease, benefits of continuous medication, barriers to prevent a recurrence of the diseases and motivation to prevent the recurrence of the diseases was greater at post-manipulation than that of pre-manipulation significantly (mean= 3.83 and mean = 4.47, before and after the nursing system development, respectively). For future work, the suggestions included that the effective nursing system should be applied to the patients with other chronic diseases of other agencies in the similar context. The questionnaires on the perception of medication should be updated. Other factors affecting the medication in patients with storke should be explored. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง -- การรักษา th
dc.subject Cerebrovascular disease -- Treatment th
dc.subject การรักษาด้วยยา th
dc.subject Medication th
dc.title การพัฒนาระบบการพยาบาลอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการรับประทานยาต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบอุดตัน th
dc.title.alternative The Participatory Nursing Care System Development for Adherence Medication in Ischemic Stroke Patients th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account