DSpace Repository

ปัจจัยทำนายการรับรู้สมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
dc.contributor.advisor กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
dc.contributor.advisor Vanida Durongrittichai
dc.contributor.advisor Kamonthip Khungtumneum
dc.contributor.author กิษรา มาศโอสถ
dc.contributor.author Kissara Masosat
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-06-09T15:03:31Z
dc.date.available 2022-06-09T15:03:31Z
dc.date.issued 2017
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/402
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2560 th
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้สมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชพที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนทั่วประเทศไทย จำนวน 178 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัคทั้งฉบับ เท่ากับ 0.966 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการวิเคราะห์ถอถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple refresion) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 42-49 ปี ร้อยละ 54.50 ทั้งหมดจบปริญญาโท โดยส่วนใหญ่จบมานาน 6-10 ปี ร้อยละ 69.10 มีระยะเวลาที่สอบได้ผู้ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน 1-5 ปี ร้อยละ 51.12 มีการรับรู้สมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.47, S.D.=0.51) เมื่อพิจารณารายได้ พบว่า สมรรถนะที่ 5 ด้านการให้คำปรึกษา ด้านการดูแลบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄=4.62, S.D.=0.35) รองลงมาคือ สมรรถนะที่ 4 ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจ การสอน และการฝึกการเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ (x̄=4.59, S.D.=.042) และสมรรถนะที่ 3 ด้านผู้ประสานความร่วมมือ (x̄=4.54, S.D.=0.62) ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำนายการรับรู้สมรรถนะโดยรวมในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน พบความเครียดและลักษณะของงาน สามารถทำนายโดยภาพรวม ได้ร้อยละ 11.2 (R[square=0.112) เมื่อพิจารณาปัจจัยทำนายรายด้าน พบว่า 1) รายได้รวมและลักษณะของงาน สามารถทำนายการรับรู้สมรรถนะ ด้านที่ 1 ได้ร้อยละ 11.2 (R[square=0.112) 2) ความเครียด ทำนายการรับรู้สมรรถนะด้านที่ 2 ได้ร้อยละ 4.8 (R[square=0.048) 3)ความเครียดและภาวะผู้นำ ทำนายการรับรู้สมรรถนะด้านที่ 3 ได้ร้อยละ 5.8 (R[square=0.058) 4) ภาวะผู้นำ ทำนายการรับรู้สมรรถนะด้านที่ 4 ได้ร้อยละ 8.9 (R[square=0.089) 5) ประสบการณ์การทำงาานและภาวะผู้นำ ทำนายการรับรู้สมรรถนะด้านที่ 5 ได้ร้อยละ 6.0 (R[square=0.060) 6) ไม่พบตัวแปรพยากรณ์ที่ทำนายการรับรู้สมรรถนะด้านที่ 6 และ 7) ความเครียดและลักษณะของงาน ทำนายการรรับรู้สมรรถนะด้านที่ 7 ได้ร้อยละ 8.0 (R[square=0.080) 8) ลักษณะของงานทำนายการรับรู้สมรรถนะด้านที่ 8 ได้ร้อยละ 5.7 (R[square=0.057) และ 9) ความเครียดและภาวะผู้นำ ทำนายการรับรู้สมรรถนะด้านที่่ 9 ได้ร้อยละ 6.0 (R[square=0.060) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลหรือหัวหน้างานอาจนำปัจจัยที่ร่วมกันอธิบายการรับรู้สมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนที่พบ ไปวางแผนพัฒนาและปรับปรุงผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของตน ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสามารถนำสมรรถนะของตนเองที่มีอยู่มาใช้ได้เหมาะสมและเต็มความสามารถ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้รับบริการด้วยเช่นกัน th
dc.description.abstract This research aims to study the abilities in nursing. The experimental group is people who graduacte from the Nursing Science Program in Community Nurse Practitioner with a Master's Degree. The group consisted of 178 people. The information is collected by using questionnaires, was employed Cronbach's alpha Coefficient 0.966. Analyzing the average percentage, and analyzing the predictions of Stepwise Multiple Regression. The results showed that the samples were aged between 42-49 years old (54.50 percent) and all graduate 6-10 years (69.10 percent). They passed the Community Nurse Practitioner exam 1-5 years (51.12 percent) and they have perceived competency in nursing practice. Overall, the highest level is (x̄=4.47, S.D.=0.51) considering the revenue competency at five of the consulting individuals, families, groups, and community care. The average maximum was (x̄=4.62, S.D.=0.35) followed by the competency of four teaching empowerments coaching mentors in practice (x̄=4.59, S.D.=0.42) and the third competency. The partnership coordinator was (x̄=4.54, S.D.=0.62) respectively. The analysis predicts the overall efficacy in the clinical practice of the nursing community. Stree and job description can predict the overall percentage 11.2, considering factors found that 1) The total revenur and job description can predict the first competency of 11.2 percent. 2) Stree can be predicted the second competency of 4.8 percent. 3) Stree and leadership can be predicted the third competency of 5.8 percent. 4) Leadership can be predicted the fourth competency of 8.9 percent. 9) Finally, stress and leadership can be predicted the ninth competency of 6.0 percent. This study leads to many conclusions. Nurse administrators or supervisors may be common factors of explaining the competency of nursing practice in the Community of Nurse Practitioners. Plans can be made to help develop and improve the competency in their departments. People should be encouraged to perform their best and use their capabilities to benefit the patients. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject พยาบาล th
dc.subject Nurses th
dc.subject Performance th
dc.subject สมรรถภาพในการทำงาน th
dc.subject การพยาบาล th
dc.subject Nursing th
dc.title ปัจจัยทำนายการรับรู้สมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th
dc.title.alternative Predictive Factors Related to Perception in Nursing Competency of Community Nurse Practitioners th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account