dc.contributor.advisor |
จริยาวัตร คมพยัคฆ์ |
|
dc.contributor.advisor |
อรพินท์ สีขาว |
|
dc.contributor.advisor |
Jariyawat Kompayak |
|
dc.contributor.advisor |
Orapin Sikaow |
|
dc.contributor.author |
กัตติกา วังทะพันธ์ |
|
dc.contributor.author |
Kattika Wangtapan |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-09T15:18:40Z |
|
dc.date.available |
2022-06-09T15:18:40Z |
|
dc.date.issued |
2019 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/403 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562 |
th |
dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ที่มารับการรักษาแผนกอายุรกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประชาพัฒน์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสร้างขึ้้นจากแนวคิดการจัดการตนเองของ เคนเฟอร์และแกคลิค คู่มือการจัดการตนเองและแบบบันทึกพฤติกรรมการดูแลตนเองในแต่ละวันเป็นรายบุคคล เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองและแบบบันทึกความดันโลหิต ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและทดลองหลังจากได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลประชาพัฒน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และทดสอบสมมุติฐนโดยสถิติที ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1. หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 2) หลังได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่แตกต่างกับก่อนได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 3) หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีพฤติกรรมการดูตนเองดีกว่าผู้ป่วยหลังได้รับการรักษาพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 4. หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีสัดส่วนระดับความดันโลหิตดีกว่าผู้ป่วยหลังได้รับการรักษาพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ สามารถส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ต่อเนื่องและควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น |
th |
dc.description.abstract |
The purpose of this quasi-experimental research two-group pretest-posttest design was to compare before and after seld-care behaviors and blood pressure levels of the experimental group and the comparison group in uncontrolles hypertension patients. The sample consisted of 50 uncontrolled hypertensive patients who were treated with medicine at the outpatient medicine department of Prachapat Hospital, Bangkok. The instrument used in the experiment was self-management program for stroke prevention based on the self-management concept of Kanfer and Gaelick, a self-mamagement handbook for recording daily self-care behaviors of individual hypertensive patients. Data were collected and tested after receiving the research ethics certification from Huachiew Chalermprakiet University and Prachapat Hospital. Were analyzed by using Frequency, Mean, Standard Deviation, Chi-square statistic, and hypotheses were tested using t-test at .05 level of significance. The studt results revealed that: 1. Mean score of self-care behaviors of uncontrollable hypertensive patients of the experimental group was higher than that before, and mean blood pressure (top/bottom? was significantly different at <.05. 2. Mean score of self-care behaviors of uncontrollable hypertensive patients of the compatative group was different and indifferent, and mean value of bottom blood pressure number was significantly indifferent at <.05. 3. The comparative group after receiving the self-care behaviors of uncontrollable hypertensive patients was significantly between experimental group and comparison group who received nursing care <.05. 4. Mean score of self-care behaviors of uncontrollable hypertensive patients of the experimental group was higher than the control group, and mean blood pressure (top/bottom) was significantly better than the comparative group at <.05. This research indicated that self-management program for stroke prevention in uncontrollable hypertensive patients can promote and support patients with uncontrollable hypertension to continuously change self-care behaviors and better control blood pressure. |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย |
th |
dc.subject |
Cerebrovascular disease -- Patients |
th |
dc.subject |
ความดันเลือดสูง -- การควบคุม |
th |
dc.subject |
Hypertension -- Control |
th |
dc.subject |
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง |
th |
dc.subject |
Self-care, Health |
th |
dc.title |
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ |
th |
dc.title.alternative |
Stroke Prevention Self-Management Programme in Patients with Uncontrolled Hypertension |
th |
dc.type |
Thesis |
th |
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
th |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
th |
dc.degree.discipline |
การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
th |