การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาของโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด เพื่อลดความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา จำนวน 40 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการจัดการอาการปวดร่วมกับสุวคนธบำบัดและดนตรีบำบัด แบบประเมินอาการปวดและสัญญาณชีพและแบบประเมินการควบคุมอาการปวดด้วยตนเองของผู้ป่วย มีการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของแบบประเมินการควบคุมอาการปวดด้วยตนเองของผู้ป่วย ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรงกระดูกขา หลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดด้วยสุวคนธบำบัดและดนตรีบำบัด น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับค่าเฉลี่ยอัตราเต้นชีพจร และความดันโลหิต ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดด้วยสุวคนธบำบัดและดนตรีบำบัดต่่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนค่าเฉลี่ยอัตราเต้นชีพจรและความดันโลหิตในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรงกระดูกขา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ไม่แตกต่างทางสถิติ (p<.05)
This quasi-experimental research aimed to study the effect of pain management program by using aromatherapy and music therapy in postoperative patients with open reduction internal fixation of leg. Forty samples were specifically selected, which consisted of twenty samples for experimental group and other twenty samples for control group. The research instrument were pain management program by using aromatherapy and music therapy, pain and vital sign assessment tool, and pain self-control assessment tool Dod been tested which expressed at 0.75 Cronbach's alpha. Percentage, mean, standard devistion, and t-test were used as data analysis. This study found that mean pain score of postoperative patients with OORIF after received this program (p<.01). Mean pain score of postoperative patients with ORIF between experimental group and control group were not significantly different. Mean of pulse rate and blood pressure after receiving this program were significantly (p<.05). Furthermore, mean of pulse rate and blood pressure of postoperative patients with ORIF between experimental group and control group were not significantly different (p<.05)