การศึกษาเชิงพรรณนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการค้นหาความเสี่ยงในโรงพยาบาลของบุคลากรในโรงพยาบาลหัวเฉียว ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ วุฒิการศึกษา) ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน (ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน และวิชาชีพ) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาความเสี่ยง
(ความรู้เกี่ยวกับการค้นหาความเสี่ยง ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความต้องการมีส่วนร่วมในการค้นหาความเสี่ยง รวมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการค้นหาความเสี่ยง) ด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรโรงพยาบาลหัวเฉียว จำนวน 273 คน โดยตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองในเดือนสิงหาคม 2549 วิเคราะห์ข้อมูล แตกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient และสถิติ Chi-Square Test
ผลการศึกษา พบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.0 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 56.77 มีระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 14.6 ปี ปฏิบัติงานในหน่วยงานสนับสนุน ร้อยละ 54.04 หน่วยงานทางด้านบริการ ร้อยละ 45.96 ในจำนวนนี้เป็นผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 81.11 โดยเป็นพนักงานบริการทั่วไป ร้อยละ 34.07 บุคลากรสานวิชาชีพ ร้อยละ 31.87 ที่เหลือไม่ใช่บุคลากรสายวิชาชีพ
2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการค้นหาความเสี่ยงในหน่วยงานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80.51
3. เกี่ยวกับการค้นหาความเสี่ยงในโรงพยาบาล เคยรับการอบรมจากโรงพยาบาลเองร้อยละ 87.31 ส่วนใหญ่ได้รับการอบรม 1-2 ครั้ง เป็นการอธิบาย/ชี้แจงจากหัวหน้าหน่วยงานร้อยละ 92.91 และยังเคยได้รับการอบรมจากแหล่งอื่นๆ สำหรับปัญหาและอุปสรรค์ พบว่า ร้อยละ 11.55 มีปัญหาเกี่ยวกับนโยบาย ขั้นตอนการรายงาน แบบฟอร์ม และระบบการส่งข้อมูลย้อนกลับ
4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการค้นหาความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ วิชาชีพ การฝึกอบรม ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และความต้องการการมีส่วนร่วมในการค้นหาความเสี่ยง
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
ควรส่งเสริมให้มีการอบรมเกี่ยวกับการค้นหาความเสี่ยงในโรงพยาบาลให้กับบุคลากรทุกคนในโรงพยาบาล ให้มีการชี้แจง/อธิบายจากหัวหน้าหน่วยงาน และกระตุ้นให้ค้นหาความเสี่ยงในหน่วยงานเป็นประจำ
The purpose of this study was to identify the relationship between risk searching and
factors of personals in Hua Chiew Hospital. These factors were age, education, working years,
position, professionals, knowledge in risk searching, team relationship & need to participate in
risk searching including problem & obstacles. The self-administer questionnaires were used to
collect these data during August 2006. There were 273 respondents. The statistics used in data
analysis were frequency, mean, percentage, S.D, max, min, Pearson's Product moment
Correlation and Chi-square.
The result revealed that the majority of respondents were female & bachelor degree. The
average age and working years were 38.0 & 14.6 years respectively. 54.04% were supportive staff
while 45.96% were service staff. 31.87% were professionals. The knowledge in risk searching of
80.51% of samples were high level. 87.30% of respondents were trained in house. The majority
were trained 1-2 times. 92.91% were informed or described by supervisors. These were some
problems &: obstacles due to policy, process, formats & feedback systems. The factors that
related statistical significantly (p <=0.05) to risk searching were professionals, training, team
relationship & need to participate in risk searching.
The recommendation are to increase the training & communication and also stimulate &
support the risk searching in every units to be a routine jobs.