DSpace Repository

การปรับตัวที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการของนักสังคมสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนพิการ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
dc.contributor.advisor Thipaporn Phothithawil
dc.contributor.author รัชนี สัญญะวงศ์
dc.contributor.author Ruchanee Sunyawong
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2025-07-04T13:54:12Z
dc.date.available 2025-07-04T13:54:12Z
dc.date.issued 2003
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4263
dc.description ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 en
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาผลกระทบของการปฏิรูประบบราชการต่อนักสังคมสงเคราะห์ และการปฏิบัติงาน (2) เพื่อศึกษาถึงการสร้างมาตรการจูงใจและความต้องการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานที่มีต่อนักสังคมสงเคราะห์ (3) เพื่อศึกกษาถึงการปรับตัวของนักสังคมสงเคราะห์ที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์คนพิการ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จำนวน 9 คน วิธีที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้เลือกใช้การวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีประเด็นคำถามเกี่ยวกับผลกระทบของการปฏิรูประบบราชการต่อตัวนักสังคมสงเคราะห์และต่องานที่ปฏิบัติ รวมทั้งการปรับตัวของนักสังคมสงเคราะห์ต่อการปฏิรูประบบราชการ ผลการศึกษามีดังนี้ ผลกระทบของการปฏิรูประบบราชการต่อนักสังคมสงเคราะห์ พบว่า อัตรากำลังนักสังคมสงเคราะห์ เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น แต่จำนวนบุคลากรมีจำนวนเท่าเดิมไม่เพียงพอต่อสภาพปัญหาและความต้องการ บทบาทหน้าที่ยังไม่มีความชัดเจนทำให้งานยังคงมีความซ้ำซ้อนความรู้นักสังคมสงเคราะห์จะต้องมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทักษะควรมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ มีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในงานและจากประสบการณ์ในการทำงานทัศนคติในการทำงานส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดี เนื่องจากมีความเข้าใจในเนื้องานมากขึ้น ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ คาดว่าจะมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ เนื่องจากมีการทำงานเข้าถึงประชาชนมากขึ้น ผลงานที่ออกมาเป็นรูปธรรมและสังคมมีการยอมรับในวิชาชีพมากขึ้น ผลกระทบขอการปฏิรูประบบราชการต่อการปฏิบัติงานของนักสังคมสงเคราะห์ พบว่า เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการทำให้ลักษณะงานและวิธีการทำงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลให้มีปริมาณงานเพิ่มมากขึ้น คุณภาพของงานที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านเวลา เวลาในการปฏิบัติงานมีการทำงานล่วงเวลามากขึ้นในกรณีที่มีงานเร่งด่วนหรือมีงานฉุกเฉิน การสร้างมาตรการจูงใจและความต้องการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงาน พบว่า เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการหน่วยงานมีสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรและมีการส่งบุคลากรเข้าร่วมกับอบรม สิ่งที่ต้องการสนับสนุน คือ มีการจัดสวัสดิการให้เพิ่มขึ้น การปรับตัวและวิธีการปรับตัว พบว่า นักสังคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่สามารถปรับตัวให้ทันกับการปฏิรูประบบราชการที่เกิดขึ้น เพราะมีการเตรียมความพร้อมโดยการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และการได้รับการเข้าร่วมการอบรม จากการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้งานที่ออกมามีคุณภาพ ยุติธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และเป็นวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคม en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject นักสังคมสงเคราะห์ en
dc.subject Social workers en
dc.subject การปฏิรูประบบราชการ -- ไทย en
dc.subject Civil service reform -- Thailand en
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en
dc.subject Adjustment (Psychology) en
dc.title การปรับตัวที่มีต่อการปฏิรูประบบราชการของนักสังคมสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนพิการ สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ en
dc.title.alternative Adjustment to Bureaucratic Revolution of Social Workers in Handicap Home Department of Social Development and Welfare en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบริหารสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account