dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมั่นคงในการทำงาน และความคาดหวังต่อสวัสดิการเสริมสร้างความมั่นคงในการทำงาน ของลูกจ้างห้างสรรพสินค้าขนาด 500 คนขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาพนักงานขาย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ (1) ปัจจัยบุคคล เพศ อายุ การศึกษา เงินเดือน อายุงาน ตำแหน่ง (2) ปัจจัยลักษณะงาน ได้แก่ความสำเร็จของงานขาย ความรับผิดชอบ สภาพการทำงาน (3) ปัจจัยสัมพันธภาพ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า การยอมรับนับถือ (4) ปัจจัยองค์การ ได้แก่ การควบคุมแนะนำทั่วไป นโยบายและการบริหาร การปกครองบังคับบัญชา (5) ปัจจัยประสบการณ์ ได้แก่ ความสำคัญของตนต่อองค์การ ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน (6) ปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ส่วนตัวแปรตาม คือความมั่นคงในการทำงานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ลูกจ้างขายห้างสรรพสินค้าขนาด 500 คนขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Multi Stage Sampling ได้ตัวอย่างจำนวน 406 คน จากห้างสรรพสินค้า 11 แห่ง การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือระหว่างเดือนพฤศจิกายน –ธันวาคม 2539การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุ (Multiple Regression) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า ลูกจ้างร้อยละ 66 เป็นเพศหญิง, ร้อยละ 76 เป็นโสด ซึ่งจบระดับการศึกษามัธยมร้อยละ 67 โดยมีอายุเฉลี่ย 22.59 ปี และได้รับเงินเดือน 4,500-6,000 บาทในภาพรวมของลูกจ้างห้างสรรพสินค้ามีความมั่นคงในการค่อนข้างต่ำ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความมั่นคงในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา การปกครองบังคับบัญชา ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน, ค่าตอบแทน, สวัสดิการ, เงินเดือน, ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า และความสำคัญของตนต่อองค์การ ในขณะที่ปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลแต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้างคือ ความรับผิดชอบ, การควบคุมแนะนำทั่วไป, ความสำเร็จของงาน, การยอมรับนับถือ, ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ส่วนปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์เชิงผกผันต่อความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้าง คือ นโยบายการบริหาร, สภาพการทำงาน, เพศหญิง สถานภาพสมรส, ตำแหน่ง, อายุ, อายุงาน และการศึกษาส่วนสวัสดิการที่นายจ้างนิยมจัดให้ลูกจ้างห้างสรรพสินค้าสูงสุดคือ อาหารรองลงมาตามลำดับ คือโบนัส การเบิกค่ารักษาพยาบาล นันทนาการ เงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน การศึกษาต่อ ส่วนสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้น้อยที่สุดคือ เงินบำเหน็จ สำหรับความคาดหวังของลูกจ้างต่อสวัสดิการเสริมสร้างความมั่นคงในการทำงาน สวัสดิการที่ลูกจ้างมีความต้องการสูงสุดคือ สวัสดิการเศรษฐกิจ ได้แก่ เงินสะสมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่พักอาศัย การตรวจสุขภาพประจำปี เงินช่วยเหลือครอบครัวและบุตร รถรับส่ง และเงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุที่ไม่ใช่การทำงาน รองลงมาคือสวัสดิการด้านสังคม ได้แก่ บริการให้คำปรึกษา ห้องสมุด และนันทนาการ ส่วนที่เหลือ ได้แก่ การศึกษาต่อเงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน การเบิกค่ารักษาพยาบาล เงินโบนัส และอาหาร เป็นสวัสดิการที่ลูกจ้างคาดหวังที่ส่งเสริมความมั่นคงในการทำงานลำดับสุดท้ายจากผลการวิจัยผู้ศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะในการศึกษาสำหรับลูกจ้างห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดต่ำกว่า 500 คนและ 500 คนขึ้นไป ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น ๆ สำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป ส่วนความมั่นคงในการทำงานสำหรับสถานประกอบการ ได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับลูกจ้าง การจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานการปกครองบังคับบัญชา ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ค่าตอบแทน ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า ความสำคัญของตนต่อองค์การ และความมั่นคงในการทำงานที่หน่วยงานรัฐบาลควรจัดให้ ได้แก่ ค่าตอบแทน การปรับปรุงภาษีรายได้ ให้ความคุ้มครองด้านกฎหมายให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมตรวจแรงงาน จัดหลักสูตรกฎหมายแรงงาน มีการจัดโทรศัพท์สายด่วนให้การปรึกษา ตรวจสอบวันหยุดให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ให้การศึกษา โดยจัดระบบการศึกษาแบบทวิภาคี เสริมหลักสูตรกฎหมายแรงงานในระดับมัธยม พัฒนาฝีมือแรงงาน การรักษาพยาบาล เช่นประกันสังคมโดยกำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งให้บริการรักษาพยาบาล การเข้ารับการรักษาได้ทันทีที่ชำระเงินเข้ากองทุน เร่งรัดการออกบัตรประกันสังคม และหรือบัตรรับรองสิทธิ ให้สถานประกอบการสำรองเงินในกรณีประสบอุบัติเหตุในการทำงานและรับคือจากสำนักงานกองทุนทดแทน จัดตั้งกองทุนเงินสะสมเพื่อเป็นเงินทดแทนในระหว่างเจ็บป่วย ขยายขอบเขตสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนส่วนการสำรวจความคาดหวังของลูกจ้างสวัสดิการที่เสริมสร้างความมั่นคงในการทำงาน ได้เสนอแนะแนวทางการจัดสวัสดิการให้กับลูกจ้างสำหรับสถานประกอบการ ได้แก่ เงินสะสมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่พักอาศัย การตรวจสุขภาพประจำปี เงินช่วยเหลือครอบครัวและบุตร รถรับ-ส่ง เงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ เงินกู้ฉุกเฉิน เงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุจากงานการเบิกค่ารักษาพยาบาล อาหาร การให้บริการคำปรึกษา ห้องสมุดและนันทนาการ เงินบำเหน็จ การศึกษาต่อ เงินโบนัส และแนวทางการจัดสวัสดิการให้กับลูกจ้างสำหรับหน่วยงานรัฐบาล อันได้แก่เงินสะสมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่พักอาศัย การตรวจสุขภาพประจำปี เงินกู้ฉุกเฉิน ห้องสมุด และเงินบำเหน็จ |
th |
dc.description.abstract |
The purposes of this research are to learn about the sales staffs’ feeling in their Employment Security and the expectations for welfare which will implement their Employment Security. The chosen samples are the department stores in Bangkok area that carry over 500 sales staffs .Independent Variables are defined as follows: 1.Personal factors (Sex, Age, Education, Wage, Year of working, Position)2.Work itself factors (Achievement, Responsibility, Work conditions)3.Relationship factors (Interpersonal relations with Supervisor, Peers, and Customers, and Recognition)4.Organization factors (General supervision, Company policy and administration, Supervision techniques)5.Work experience factors (Self esteem, Advancement)6.Fringe benefit factor (Total return and welfare)Dependent Variable is the Employment Security Samples: 406 sales staffs from 11 department stores in Bangkok area are chosen by using the Multi stage sampling method to do the questionnaire which is the tool applying in this research. The research is performed during November and December, 1996Analysis: The data is analyzed by using the Descriptive and the Multiple Regression methods that are available in software package, SPSS/PC. From research, we found that approximately 66 percent are female employees, 75 percent are single, 67 percent finished the secondary school. The average age of sales staff is 22.59 years old with the range of salary between 4,501-6,000 Baht. In conclusion, the department store employees have relatively low level of Employment Security. The factors that significantly and positively effect the Employment Security are Interpersonal relation with supervisor, Supervision technique, Advancement, Total return, Welfare, Salary, Interpersonal relation with customer, and Self esteem. More so, the factors that has no effect but has positive correlation with the Employment Security are Responsibility, General supervision, Achievement, Self esteem, Interpersonal Relation with peers. On the other hand, the factors that has no effect but has negative correlation are Company policy and Administration, Work condition, Sex, Marriage status, Position, Age, Years of working, and Level of education. In addition, general welfare that all department stores mostly provide for their employees are Food, Bonus, Health insurance, Life insurance, and Education, respectively. The least popular welfare that will be provided by the employer is Pension. Furthermore, the employees’ most expectation on welfare provided by employer that will implement their Employment Security is the Economical welfare such as Provident funds, Hosing, Health examination, Security reserve for family and child support, Transportation, and Non work insurance. Next expectation is the Social welfare such as consulting service, Library, and Recreation. Lastly, others welfare that employee also expected are Reimbursement for injury and hospital bill. Bonus, and Food is the last welfare that is looked for. Finally, from survey the researcher recommends the subjects that should be included in the next research as follows: I. The study of the department store with the employee less than 500 in Bangkok and others provinces. II. The study of the department store with the employee more than 500 in Bangkok and others provinces. III. The study of the Employment Security for the department store in consideration of Interpersonal relation between employer and employee, Supervision technique, Advancement, Returns, Interpersonal Relation with Customer, and self Esteem. IV. The study of the Employment Security for the government section in consideration of returns, Reduction on Income tax, Legal Protection, Education on Labor Right, Hot line for Consulting, Public Holiday guaranty, Education, Skill improvement, Medical care such as Access service in every hospital, Cover immediately after the first payment was made, Issue social insurance card immediately, Provide company loan in case of no the job injury and reimburse from social insurance directly, Provident fund, Increase benefits. V. The study of the department store employee’s expectations on welfare that will implement their Employment Security. The researcher suggests the welfare that may be included for the department store employee such as Provident fund, Housing, Health examination, Fund form family and children, Transportation, Contribution for work and non work injury, Immediate loan, Medical care refund, Food, Consultation, Library and recreation, Pension, Education, and Bonus. VI. The study of the government employee’s expectations on welfare that will implement their Employment Security. The researcher suggests the welfare that may be included for the government employee such as provident fund, Housing, Health examination, Immediate loan, Library, and Pension. |
th |