dc.contributor.advisor |
จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร |
|
dc.contributor.advisor |
Jaturong Boonyarattanasoontorn |
|
dc.contributor.author |
ระภีภัทร์ วงษ์ภักดี |
|
dc.contributor.author |
Rapeepat Wongpukdee |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2025-07-20T03:42:21Z |
|
dc.date.available |
2025-07-20T03:42:21Z |
|
dc.date.issued |
1999 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4323 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษาเรื่อง “สิทธิและโอกาสในการประกอบอาชีพของคนพิการ : ศึกษากรณี ผู้พิการทางการมองเห็น มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโอกาสในการประกอบอาชีพของผู้พิการทางการมอง เห็น ตามสิทธิและศักยภาพ เหตุผลในการเลือกอาชีพ และอุปสรรคในการประกอบอาชีพของคนพิการ ทางการมองเห็น สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้กลุ่มประชากรผู้พิการทางการมองเห็นที่ประกอบ อาชีพแล้วจำนวน 26 คน ไม่ประกอบอาชีพจำนวน 4 คน และผู้บังคับบัญชาและนายจ้างจำนวน 5 คน โดยมีวิธีการศึกษาดังนี้ คือ การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร จากการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพแบบเจาะลึก กลุ่มผู้พิการทางการมองเห็น และนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณา
ผลการศึกษาพบว่า ผู้พิการทางการมองเห็นยังถูกกีดกันไม่ได้รับโอกาสในการเป็นส่วน หนึ่งของสังคมได้อย่างเต็มที่ ผู้พิการทางการมองเห็นยังต้องเผชิญกับสภาวะการถูกรังเกียจ กีดกันใน เรื่องของการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ซึ่งมีความขัดแย้งกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการของ ประเทศไทยหลายฉบับ ที่ได้ให้สิทธิคนพิการในหลายด้าน เช่น พระราชบัญญัติ การฟื้นฟูสมรรถภาพคน พิการ พ.ศ. 2534 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งจะให้การฟื้นฟูสมรรถ ภาพและพัฒนาโดยวิธีทางการแพทย์ การศึกษา อาชีพ สังคม แม้ในปัจจุบันผู้พิการทางการมองเห็นจะ สามารถขอรับบริการด้านต่าง ๆ มากมาย แต่เนื่องจากยังมีผู้พิการทางการมองเห็นอยู่เป็นจำนวนมากที่ยัง ตกสำรวจ ไม่ทราบถึงสิทธิที่ตนมี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ให้บริการยังมีข้อจำกัดในการให้บริการ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งผู้พิการทางการมองเห็นบางส่วนยังไม่เคยได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องทั่ว ถึง ทำให้ไม่สามารถที่จะใช้สิทธิ และขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ
ในการเลือกอาชีพของผู้พิการทางการมองเห็นนั้นผู้ศึกษาแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ อาชีพลูกจ้างในหน่วยงานต่าง ๆ และอาชีพครู ซึ่งจะมีเหตุผลในการเลือกอาชีพและอุปสรรคในการ ประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน
อาชีพอิสระ ผู้พิการทางการมองเห็นที่ประกอบอาชีพนี้ต้องการที่จะพึ่งพาตนเองสูง ซึ่งงาน ส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องอาศัยแรงงาน และความสามารถในการเคลื่อนไหวมากกว่าทุนทรัพย์ ดังนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ส่วนใหญ่แล้วไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ ปัญหาทาง ด้านเศรษฐกิจซึ่งรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย อีกทั้งสังคมยังไม่ยอมรับ ยังรังเกียจ รังแก ยังมีทัศนคติที่ไม่ดี กับผู้พิการทางการมองเห็นอยู่มาก ส่วนด้านการฝึกอาชีพนั้นยังมีทางเลือกน้อยทำให้ประกอบอาชีพได้ เพียงบางอย่าง
อาชีพในหน่วยงานต่างๆ ผู้พิการทางการมองเห็นที่ประกอบอาชีพนี้ เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่ มั่นคง และมีโอกาสในการใช้ความรู้ความสามารถ คนที่ประกอบอาชีพนี้ได้ จะต้องมีความรู้ ความ สามารถ และมีวุฒิการศึกษาที่สูงพอสมควร และมีโอกาสในพึ่งพาตนเองสูงในทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ ผู้พิการทางการมองเห็นจะต้องมีความพร้อมทางด้านจิตใจที่จะออกสู่สังคม ซึ่งจะต้องอาศัยความอดทน ความเอาใจใส่ดูแลของเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน เพื่อที่จะให้คนเหล่านี้ เข้าใจ และยอมรับในศักยภาพของผู้พิการทางการมองเห็น
อาชีพครู ผู้พิการทางการมองเห็นที่ประกอบอาชีพทำงานเพราะใจรัก และมีโอกาสในการเข้า ทำงานในอาชีพครู ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะต้องมีความอดทนสูง อีกทั้งจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความ สามารถในการที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้อย่างดี และมีโอกาสในการเข้าไปทำงานในอาชีพครู ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ ผู้พิการทางการมองเห็นจะหางานได้ลำบาก เพราะสังคมยังปิดกั้นโอกาสใน การประกอบอาชีพครู ซึ่งอาชีพครูของผู้พิการทางการมองเห็นยังอยู่ในวงจำกัด ซึ่งทัศนคติของคนทั่วไป และตัวของผู้พิการทางการมองเห็นเองมักมองว่า จะสอนได้เฉพาะคนตาบอดด้วยกันเท่านั้น
ส่วนผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพนั้นเนื่องจากบางคนต้องไปศึกษาต่อให้มีวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น เพื่อที่จะได้รับโอกาสที่เพิ่มขึ้นในการหางานทำ และบางคนหางานทำไม่ได้ถึงแม้ เรียนจบสูง มีความรู้ดี การหางานทำก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับโอกาสของผู้พิการทางการมองเห็นเอง และเหตุผลของผู้พิการทางการมองเห็นเองว่าจะเลือกที่จะดำเนินชีวิตอย่างไร
แนวทางและมาตรการในการส่งเสริมอาชีพให้ผู้พิการทางการมองเห็น คือการส่งเสริมให้ทุก หน่วยงานทำการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ให้สังคมเกิดความตระหนักถึงศักยภาพ ของผู้พิการ ส่งเสริมให้สื่อมวลชนเข้ามามีบทบาทในการประชาสัมพันธ์ด้านความสามารถของผู้พิการ ตลอดจนข้อมูลแหล่งงานต่าง ๆ ให้ผู้พิการ ส่งเสริมให้ชุมชนมีกิจกรรมที่ผู้พิการสามารถทำงานร่วมกับคนปกติได้ ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ให้เดินได้สะดวก ยิ่งขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะ ผู้ศึกษาเสนอให้รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนในการดูแล หน่วยงานต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และกฎกระทรวงต่าง ๆ เสนอ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุก รวมทั้งเสนอให้ชุมชนและครอบครัวเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือดูแล ไม่ปล่อยให้ผู้พิการทางสายตาต้องกลายเป็นผู้อยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคมอีกต่อไป |
en |
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.rights |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
en |
dc.subject |
คนพิการทางการมองเห็น |
en |
dc.subject |
People with visual disabilities |
en |
dc.subject |
สิทธิผู้พิการ |
en |
dc.subject |
คนพิการ – การจ้างงาน |
en |
dc.subject |
People with disabilities – Employment |
en |
dc.subject |
การพึ่งตนเอง |
en |
dc.subject |
Self-reliance |
en |
dc.subject |
คนพิการทางการมองเห็น – บริการที่ได้รับ |
en |
dc.subject |
People with visual disabilities -- Services for |
en |
dc.title |
สิทธิและโอกาสในการประกอบอาชีพของคนพิการ : ศึกษากรณีผู้พิการทางการมองเห็น |
en |
dc.title.alternative |
The Rights and Occupational Opportunities for People with Disability : A Case Study of the Visually Impaired Persons |
en |
dc.type |
Independent Studies |
en |
dc.degree.name |
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม |
en |