การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติของผู้ทำการฝึกทหารเพื่อป้องกันโรคที่เกิด จากความร้อนในการฝึกทหารใหม่ โดยการประยุกต์รูปแบบการดำเนินการใช้ผลงานวิจัยของ Soukup (2000) เป็นกรอบในการศึกษาตามระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การค้นหาปัญหาที่ต้องการพัฒนา ทั้งจากปัญหาการปฏิบัติงาน และการทบทวนองค์ความรู้ ระยะที่ 2 การสืบค้นและประเมิน หลักฐานข้อมูล จากระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ตรงประเด็นปัญหาที่ต้องการ ศึกษา ทั้งหมด 9 เรื่อง โดย เป็นงานวิจัยที่เป็นเชิงทดลองจากสถานการณ์จริง 4 เรื่อง Case Control Study 1 เรื่อง และจากแนวปฏิบัติ 4 เรื่อง ผู้ศึกษาได้สังเคราะห์แนวปฏิบัติจากหลักฐานดังกล่าว ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติฯ ไปใช้ (โดยประเมินตามเกณฑ์ของ Polit& Beck (2004) และวางแผนในการนำแนวปฏิบัติไปใช้กับผู้ทำการฝึกทหาร จำนวน 10 คน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ระยะที่ 4 การวิเคราะห์ผลการทดลองใช้แนวปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงให้เป็น แนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง ผลการศึกษา พบว่า ได้แนวปฏิบัติของผู้ทำการฝึกทหารเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจาก ความร้อนในการฝึกทหารใหม่ประกอบด้วย 3 คือ ส่วนที่ 1 การซักประวัติเพื่อประเมินความเสี่ยง ของการเกิดโรค ส่วนที่ 2 การตรวจร่างกายและการประเมินอาการตามระยะความรุนแรงของโรค ส่วนที่ 3 การปฐมพยาบาลตามความเสี่ยงและระยะความรุนแรงของโรค ข้อเสนอแนะจาก ผลการศึกษา คือ การนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ ควรมีการศึกษานำร่อง (Pilot Study) ในระยะเวลานานขึ้น เพื่อจะได้ประเมินผลทั้งกระบวนการและผลลัพธ์จากการใช้แนวปฏิบัติ รวมทั้งมีการ ปรับปรุงแนวปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของหน่วยงานต่อไป
The purpose of this study was to develop a practice guideline (PG) for Thai Army trainer to prevent heat injury among new privates during training. This study was developed practice guideline was based on Soukup's model of evidence – based practice, which consisted of 4 steps: 1) Evidence triggered phase : identifying problem, which occurred from working experiences and reviewing related knowledge, 2) Evidence supported phase : searching and evaluating evidences from a number of data base, there were nine evidences related to heat injury prevention, which consisted of four quasi-experimental studies, one case control study and four practice guidelines. These evidences were extracted and synthesized to be a practice guideline for Thai Army trainer to prevent heat injury among new privates during training. 3) Evidence observed : evaluating possibility of applying then, the practice guideline (by using the evaluation of Polit & Beck. 2004) had been planned to apply to 10 Thai Army trainers for 2 weeks. 4) Evidence based phase : analyzing outcome after applying the practice guideline in order to adjust the practice guideline.This study found that the practice guideline consisted of 3 parts : 1) Assessment personal history for identifying risk for heat injury, 2) Physical examination and symptoms assessment for identifying the stage of heat injury, and 3) First aid guideline according to the risk and severity of heat injury. It was recommended that the practice guideline should be tested for longer period in order to evaluate processes and outcomes. Furthermore, appropriately due to situations and workplaces the practice guideline should be adjusted.