dc.contributor.advisor |
ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา |
|
dc.contributor.advisor |
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya |
|
dc.contributor.author |
แสงเดือน มุสิกรรมณี |
|
dc.contributor.author |
Sangduan Musikammane |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-17T07:50:14Z |
|
dc.date.available |
2022-06-17T07:50:14Z |
|
dc.date.issued |
2002 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/432 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 |
th |
dc.description.abstract |
การศึกษาความต้องการกิจกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาถึงความต้องการด้านกิจกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุต้องการกิจกรรมต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ และการศึกษาครั้งนี้ผลการศึกษาวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 28.1 เป็นเพศหญิงร้อยละ 71.9 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี มีสถานภาพสมรสร้อยละ 54.2 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 67.4 ผู้สูงอายุที่ไม่ประกอบอาชีพคิดเป็นร้อยละ 44.3 มีรายได้ประมาณ 1,000 บาท ร้อยละ 49.7 แหล่งรายได้มาจากลูกหลานร้อยละ 48.4 ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพ ที่ไม่แข็งแรง ร้อยละ 57.0 ในการศึกษาความต้องการกิจกรรมผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการกิจกรรมด้านศาสนาสูงที่สุด และรองลงมาคือความต้องการกิจกรรมด้านอาชีวะบำบัด ความต้องการกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย ความต้องการกิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ ความต้องการกิจกรรมด้านการอ่านหนังสือและต่ำสุดคือความต้องการกิจกรรมด้านนันทนาการ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการพบว่ามีปัจจัย 4 ปัจจัยได้แก่ 1. ปัจจัยทางชีวสังคมของผู้สูงอายุ 2.ปัจจัยสัมพันธภาพ 3.ปัจจัยด้านภาวะถดถอย 4.ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงในชีวิตผู้สูงอายุ ปัจจัยชีวสังคม ของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีอายุน้อย มีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมด้านอาชีวะบำบัด กิจกรรมด้านการออกกำลังกาย กิจกรรมกับวัด/ศาสนสถานและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยมีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมด้านการอ่านหนังสือ อาชีพรับจ้างมีอิทธิพลต่อกิจกรรมอาชีวบำบัด ไม่ได้ประกอบอาชีพค้าขาย มีความต้องการกิจกรรมด้านการออกกำลังกาย และกิจกรรมด้านการอ่านหนังสือ กิจกรรมด้านวัด/ศาสนสถาน อาชีพรับราชการมีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมด้านการอ่านหนังสือ ปัจจัยสัมพันธภาพของผู้สูงอายุจะเป็นสัมพันธภาพกับครอบครัว มีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมด้านการออกกำลังกายและกิจกรรมด้านนันทนาการ สัมพันธภาพกับเพื่อน มีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมด้านนันทนาการ สัมพันธภาพกับชุมชน จะมีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ สัมพันธภาพกับวัด/ศาสนสถานจะมีอิทธิพลความต้องการกิจกรรมด้านอาชีวบำบัด กิจกรรมกับวัด/ศาสนสถาน กิจกรรมด้านการบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมด้านนันทนาการ ปัจจัยด้านภาวะถดถอยของผู้สูงอายุ มีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมกับวัด/ศาสนสถาน และความต้องการกิจกรรมด้านนันทนาการ ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงในชีวิตผู้สูงอายุ มีอิทธิพลต่อความต้องการกิจกรรมวัด/ศาสนสถาน ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการต้องการกิจกรรมต่างกัน ได้แก่ อาชีพรับจ้าง อาชีพรับราชการ เพศชาย ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะว่า สถาบันศาสนา เป็นสถาบันที่ผู้สูงอายุทุกคนหวังพึ่งพิงในบั้นปลายของชีวิต เพราะฉะนั้นควรมีการส่งเสริมปรับปรุง หาวิธีการที่ดีที่สุดที่จะพัฒนาสถาบันศาสนาให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม อันจะนำไปสู่การที่มีสุขภาพที่ดี และส่งผลถึงความพึงพอใจในชีวิตในที่สุด |
th |
dc.description.abstract |
The purposes of this research are 1) to examine Kinds of Activities 2) collect influential factors toward activities and 3) to differentiate factors toward activities toward activities which are in demand for the Elderlies in Samut Prakarn Province. Subjects are elderlies in Samut Prakarn Province ages between 60-69 years old, 28.1 percent male, and 27.9 percent female. Most of them, 54.2 percent, were married, and 67.4 percent are at the primary education levels. 44.3 percent of these elderlies are unemployed and 49.7 percent receive approximately about 1,000 baht for month financed by their children. Elderlies of 57.0 percent were unhealthy. The research also found that activities needed by elderlies are in various categories primary were religious and ritual activities. Secondary were biotherapy, Physical exercises, social contribution, and reading respectively. Recreational activities received the lowest interest. Four influential factors toward activities needed by elderlies are bio-society of elderlies, 2) elderly relationships 3) mental and physical withdrawal, and 4) life changing of elderlies. Activities on bio-therapy, physical exercised, religions and ritual activities, and social contributions were mostly required by elderlies. Reading activities were less required by lower income elderlies. Elderlies with different careers concentrated on different activities such as laboring elderlies on bio-therapy ; non-trading elderlies on physical exercises, reading and religions and activities ; and government officers on reading. Elderlies had closely relations with members of family, friends, and society. They were in need on physical exercises and recreations with members of family recreations with friends ; and religions and ritual, and ritual activities, and social contributions, bio-therapy, recreation, and religions and ritual activities with society. Mental and physical disengagement effected mainly on religions and ritual and recreational activities life-changing of elderlies was also our of the most important factors effected over religions and ritual activities. The lost but not the least findings of the research were factors differentialing activities needed by elderlies. They were blue-collar employment, government Employment, sex (especially male) levels of education, and marital (status). The study finally revcaled that religions; institutes or wats or Buddhist temple were our of the most important place for elderlies in the lost period of their lives. The researcher suggests that those institutes should be developed and organized in terms of meaningful activities and contributions for elderlies, To encourage elderlies to participating activities and challenging religions and ritual activities sept-tically will bring about better mental and physical health and life-satisfaction to elderlies. |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ |
th |
dc.subject |
Occupational therapy for older people |
th |
dc.subject |
Older people -- Conduct of life |
th |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต |
th |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- การดูแล |
th |
dc.subject |
Older people -- Care |
th |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการ |
th |
dc.subject |
Older -- Thailand -- Samut Prakan |
th |
dc.title |
ความต้องการด้านกิจกรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ |
th |
dc.title.alternative |
The Elderly's Needs of Activities in Samut Prakarn Province |
th |
dc.type |
Thesis |
th |
dc.degree.name |
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต |
th |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
th |
dc.degree.discipline |
การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม |
th |