การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในชุมชนภาคกลางประเทศไทย จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์การปรับตัวของสุภาภรณ์ สังขมรรทร (2549) ที่สร้างตามแนวคิดการปรับตัวของ ดีโรจาติส (1986) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 60-69 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพ ระยะเวลาเจ็บป่วยมากกว่า 10 ปี ระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา Mild NPDR ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 110-150 มก./ดล มีโรคร่วมเป็นความดันโลหิตสูง มีความเชื่อด้านสุขภาพการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา คือ แรงจูงใจของการปฏิบัติและการรับรู้ความรุนแรงของโรค ส่วนการสนับสนุนทางสังคมพบด้านอารมณ์มากสุด รองลงมา คือ การยอมรับและเห็นคุณค่า ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัว พบว่า เพศ อายุ ระดับน้ำตาลในเลือด การมีโรคร่วม ระยะเวลาเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.01) ความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.17**, p-value = 0.01) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.24**, p-value = 0.01)
The purpose of the survey research study was to determine factors affecting on adaption in diabetic retionpathy of patients with type 2 diabetis mellitus in central community region of Thailand. Subjects were 360 retinopathy of type 2 diabetic patients in central community region. Data were collected by using the questionnaire of Supaporn Sangkhamantom (2549) based on the conceptual framework Derogatis (1986). Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, chi-square test and Pearson's Product Moment Correlation. The finding found that most subjects were female, age between 60-69 years, completed primary education, are not occupation, illness more than 10 years, violence Mild NPDR, blood sugar level between 110-150 mg/dl, and joint diseases were high blood pressure. Perceived benefits of the most, followed by the motivation of the practice and the perceived serverity of the disease. The social support were emotional the most, followed by the recognition and appreciation. Factors affecting the adaption found that sex, age, blood sugar levels, joint disease, illness duration were related with adaptation, statistical significance (p-valus = 0.01), wheras health belief was related positively to adaptation with a statistical significant (r=0.17**, p-value = 0.01). The social support was related positively to adaptation with statistical significance (r=0.24**, p-value=.01)