การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กรอบแนวคิด การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของ ชูคัพ (Soukup. 2000) ผลการศึกษามีดังนี้ 1) การสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ การขาดความรู้ในการปฏิบัติตัว มีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม จากการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์จากแหล่งข้อมูลประเมินคุณภาพระดับความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินความเป็นไปได้ในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ได้ทั้งหมด 34 เรื่อง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ระดับ 1 มี 7 เรื่อง ระดับ 2 มี 25 เรื่อง ระดับ 3 มี 1 เรื่อง และระดับ 5 มี 1 เรื่อง 2)การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการจัดการพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย 3 ส่วน 1) การจัดการตนเองด้านการรับประทานอาหาร ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงแป้ง อาหารหวาน เพิ่มอาหารที่มีกากใย รับประทานอาหารประเภทมังสวิรัติ การจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายมีการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ได้แก่ โยคะ และประยุกต์การแสดงท้องถิ่นมาออกกำลังกาย เช่น มโนราห์ ฟ้อนหมอรำกลอน ฟ้อนเจิง รำไม้พลอง เป็นต้น 2) การจัดการโดยทีมสุขภาพ ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและวิธีปฏิบัติตน การกระตุ้นให้มีการติดตามอย่างต่อเนื่องทางโทรศัพท์ การใช้ไปรษณียบัตรหรือจดหมาย การเยี่ยมบ้าน 3) การจัดการโดยสิ่งแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ การสนับสนุนจากครอบครัว การให้กำลังใจโดยกลุ่มเพื่อน เป็นต้น โดยนำแนวปฏิบัตการพยาบาล ไปใช้เพื่อการจัดการพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองสอง หมู่ 13 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีการจัดการพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกายสูงกว่าหลังการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะว่าควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ในหน่วยงานมีการติดตามผลลัพธ์ของการใช้ในระยะยาว และควรมีพัฒนาแนวปฏิบัติให้ทันสมัยด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชนและสังคม
The purposes of this study were to synthesize and to develop nursing practice guideline on behavior management of diet and exercise for blood glucose control with type II diabetes. The evidence-based practice model of Soukup (2000) was used as a conceptual framework in this study. The results of this study were as follows: 1) The synthesis was found that the factors affected on blood glucose control with type II diabetes consisted of lacking of knowledge in behavior due to their diabeted, having inappropriate eating and exercising behaviors. This study had searched, evaluated the quality of the evidence-based, analyzed the level of reliability of the evidence-based, analyzed and synthesized the possibility of the thirty four evidence-based. It was found that seven were in the first level of the quality. One eveidence-base was in the third level of the quality. Thee last one was in the fifth level of the quality. 2) the developmet of nursing practice guideline on behavior management of diet and exercise for blood glucose control with type II diabetes consisted of three parts. First part was self-management on diet, for instance low-fat diet, avoiding carbohydrate and sweet diet, enhance dietary fiber, and eating vegatarian food. Self-management on exercise was also in the first part, which consisted of five days of exercise per week, thirty to sixty minutes per one exercise. The exercise should be done for twelve weeks such as aerobic exercise, yoga, and local exercise (long stick exercise, and Tai Chi). Second was health care team management, which consisted of providing knowledge on diabetes, explaining how to behave on their diabetes, consisting telephone follow-up, poster, or letter for reminding, and home visiting. Finally, social environment management was occurred from applying nursing practice guideline on behavior management of diet and exercise for blood glucose control with thirty type II diabeted in Klong Song Health Promiting Hospital, Phatumthani. The result found that Type II diabetes patients had significantly better behavior management of diet and exercise than before apply this nursing practice guideline (p=.05). This studt suggested that this nursing practice guideline should be applied in any health care unit. It should also follow up this nursing practice guideline in the long perios of time. Furthermore, the nursing practice guideline should be developed continuously in order to update new knowledge and consider the contextual of each community and society.