งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณฝุ่น ในโรงพักสินค้า เพื่อศึกษาอาการเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจของพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงพักสินค้า และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่น กับความชุกของกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ โดยเก็บตัวอย่างปริมาณฝุ่นเพื่อตรวจวัดปริมาณอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 โมครอน (PM [subscript 10]) และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 131 คน ผลการศึกษาพบว่า ผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 โมครอน (PM [subscript 10]) มีค่าระหว่าง 0.038-0.384 mg/m3 เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานประกาศกระทรวงมหาดไทย พบว่า มีปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ระดับความถี่อาการ โรคระบบทางเดินหายใจ โดยในภาพรวมมีอาการโรคระบบทางเดินหายใจอยู่ในระดับปานกลาง มีอาการคอแห้ง/หิวน้ำบ่อย มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจที่ระดับความถี่ทุก 1-3 วันต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 81.80 เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝถ่น และความชุกของกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจ จากการทดสอบด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน (r) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ของความชุกของกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจของพนักงาน พบว่า ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.379, p-value>0.05) อย่างไรก็ตามอาการคล้ายหอดมีความสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 โมครอน (PM [subscript 10]) มีค่าสถิติระดับนัยสำคัญ 0.05 (p<0.05) โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
The objectives of the research are to analyze dust quantity in warehouse to study respiratory syndromes of operators working in the warehouse and find relationship between dust quantity and prevalence of respiratory syndromes. Samples of dust were collected to measure quantity of dust with particles of less than 10 microns in diameters (PM [subscript 10]) and data collection was done through a questionnaire. The sample size was made up of 131 people. Research findings were that measurement of dust concentration with particles of less than 10 microns (PM [subscript 10]) was between 0.038 and 0.384 mg/m3. Compared to the standards prescribed in the announcement of the Ministry of Interior, dust concentration did not exceed the standards. Level of frequency of respiratory syndromes in overall was moderate. Operators often felt dehydrated/thirsty and had respiratory syndromes with the frequency rate of every 1-3 days per week, accounting for 81.80%. Finding relationship between dust quantity and prevalence of respiratory syndromes based on Pearson's correlation testing method (r) at a 95% confidence interval of prevalence of respiratory syndromes of the operators found that in overall there was no statistically significant relationship (r=0.379, p-value>0.05). However, a symptom like dyspnea was related to dust quantity with particles of less than 10 miแrons in diameters (PM10) with a statistical significance of 0.05 (p<0.05) and p-value of 0.019 with a statistical significance.