งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพิ่มความคงตัวของสารคาเทชิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่พบในสารสกัดชาเขียว (Camellia sinesis) โดยพัฒนาในรูปแบบตำรับไมโครอิมัลชัน โดยศึกษาผลของอุณหภูมิ (80 และ 100 °C) เวลา (15 และ 30 นาที) และตัวทำละลาย (น้ำ, 40% ethanol และ 70% ethanol) ในการสกัดชาเชียว 3 ชนิดได้แก่ ชาเขียวมัทฉะ ชาเขียวเซนฉะ และขาเขียวบันฉะ พบว่า การสกัดชาเขียวมัทฉะด้วย 40% ethanol ที่ 80 °C เป็นเวลา 30 นาที มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณ total phenolics สูงที่สุด ดังนั้น จึงนำเอาสารสกัดชาเชียวมัทฉะมาตั้งตำรับไมโครอิมัลชันด้วยการสร้างแผนภาพไตรภาคเทียม โดยศึกษาผลของสารลดแรงตึงผิวผสม (span 80: cremophor RH40; soan80L kolliphor EL และ span80: kolliphor HS15 อัตราส่วน 1:1) ร่วมกับการใช้สารลดแรงตึงผิวร่วม (isopropanol) วัฏภาคน้ำมัน (jojoba oil) และวัฏภาคน้ำ และประเมินคุณลักษณะของตำรับดังนี้ ความใส ขนาดและการกระจายอนุภาค การนำไฟฟ้า ความเป็นกรด-ด่าง และความหนืด พบว่าตำรับที่ประกอบด้วยสารสกัดชาเขียว 0.5% สารลดแรงตึงผิวผสม (span: cremophor RH40 อัตราส่วน 1:1) 49.90%, jojoba oil 24.31% และน้ำ: IPA (1:1) 25.29% มีความคงตัว ขนาดอนุภาคอยู่ในช่วงของไมโครอิมัลชัน ความหนืดต่ำ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำไฟฟ้าอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ และศึกษาสัณฐานวิทยาก และโครงสร้างของหยดวัฏภาคภายในด้วย Transmission electron microscope (TEM) พบว่ามีลักษณะทรงกลม รวมถึงหาเปอร์เซ็นต์คงเหลือของสารสำคัญ caffeine, epicatechin และ epigallocatechin gallate ในตำรับไมโครอิมัลชัน โดยเปรียบเทียบกับตำรับเจลผสมสารสกัดขาเชียว พบว่าตำรับไมโครอิมัลชันมีเปอร์เซ็นต์สารสำคัญดังกล่างคงเหลือมากกว่าตำรับเจล หลังเก็บทดสอบความคงตัวที่อุณหภูมิห้องและที่สภาวะเร่งสลับอุณหภูมิ จึงสรุปได้ว่าระบบไมโครอิมัลชันสามารถช่วยเพิ่มความคงตัวของสารสำคัญจากสารสกัดชาเขียวได้
The objective of the study was to develop microemulsion formulation for enhancing the stability of catechins, the major bioactive compounds in green tea (Camellia sinesis) extract. First, the effects of different extraction temperature (80 and 100°C), time (15 and 30 min) and solvents (water, 40% ethanol and 70% ethanol) on the total phenolic contents in three green teas (Matcha, Sencha and Bancha) were investigated. The results showed the Matcha green tea extract prepared by using 40% ethanol at 80°C for 30 min gave the highest antioxidant activity and total pheolic contents. Thus, Matcha green tea extract was used in the microemulsion. Based on the single isotropic region produced in pseudotemary phase diagram, the effect of surfactant mixtures (span80: cremopher RH40; span80; kolliphor EL and span80: kolliphor HS15 [1:1]) on the phase behavior, consurfactant (isopropanol, IPA), oil phase (jojoba oil) and water in the system were evaluated. The selected microemulsion were investigated of characteristics, such as clarity, droplet size, polydispersity index (PI), conductivity, PH and viscosity. The results indicated that the clear w/o microemulsion containing 0.5% green tea extract, 49.90% surfactant mixtures consisting of span80 and cremophor RH40 at the ration of 1:1, 24.31% jojoba oil, 25.29% water to IPA (1:1) remained stable and exhibited the droplet size in microemulsion range, low viscosity, acceptable pH and conductivity. Transmission electron microscope (TEM) was used to image the droplets and revealed the spherical particles. Furthermore, the percentages of the remaining of caffeine, epicatechin and epigallocatechin gallate contents in the mircoemulsion after stability test were analysed by comparison with the prepared green tea extract gel. It was found that the mircoemulsions contained the three active compounds higher that the gel after storage at room temperature and heating/cooling cycles. It could be concluded that the developed microemulsion system enhances the stability of green tea extract.