งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรทั้งหมด 5 ชนิด คือ เปลือกอบเชย ใบพลู รากชะเอมเทศ เหง้าขิงและข่า และนำสารสกัดที่มีฤทธิ์ดีที่สุดไปทดสอบประสิทธิภาพในการเป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบเจล วิธีการสกัดทำโดยการหมักสมุนไพรในตัวทำละลายเฮกเซนและตัวทำละลาย 95% เอทานอล นำสารสกัดหยาบมาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ S. aureus TISTR 1466 (ATCC 6538) P.aeruginosa TISTR 781 (ATCC 9027) E.coli ATCC 7839 C.albicans TISTR 5779 (ATCC 10201X และ A.brasiliensis DMST 15538 (ATCC 16404) ด้วยวิธี agar well diffusion พบว่าสารสกัดสมุนไพรที่ทำการศึกษาทุกชนิดทั้งสกัดด้วยเฮกเซนและ 95% เอทานอลสามารถยับยั้งเชื่อแบคทีเรียแกรมบวกและยีสต์ได้ สารสกัดเปลือกอบเชยและใบชะพลูที่สกัดด้วยเฮกเซนสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำการศึกษาได้ทุกชนิดและมีประสิทธิภาพดีกว่าสารสกันอื่นๆ ในขณะที่สารสกัดด้วย 95% เอทานอลสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้เพียงบางชนิด เมื่อทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อ (MBC/MFC) ด้วยวิธี broth microdilution และ spread plate method ค่า MIC และ MBC/MFC ของสารสกัดเปลือกอบเชยอยู่ในช่วง 0.039-0.312 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 0.156-1.250 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร 0.078-0.625 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับและพบว่าสารสกัดเปลือกอบเชยและใบพลูที่สกัดด้วยเฮกเซนสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำการศึกษาได้ทุกชนิดและมีประสิทธิภาพดีกว่าสารสกัดอื่นๆ ในขณะนี้สารสกัดด้วย 95% เอทานอลสามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้เพียงบางชนิด เมื่อทดสอลหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อ (MBC/MFC) ด้วยวิธี broth microdilution และ spread plate method ค่า MIC และ MBC/MFC ของสารสกัดเปลือกอบเชยอยู่ในช่วง 0.039-0.312 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรและ 0.156-1.250 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร 0.078-0.625 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับและพบว่าสารสกัดเปลือกอบเชยมีประสิทธิภาพดีกว่าสารสกัดใบพลูใน เฮกเซนนำสารสกัดเปลือกอบเชยที่สกัดด้วยเฮกเซนผสมลงในผลิตภัณฑ์เจลมีความเข้มข้น 0.3% 1.25% และ 2.5% โดยน้ำหนักเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ โดยวิธี challenge test พบว่าสารสกัดเปลือกอบเชยความเข้มข้น 1.25% และ 2.5% สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิดตามมาตรฐาน ISO 11930 กำหนดตำรับมีความคงตัวดีทางกายภาพและชีวภาพทั้งในสภาวะสลับอุณหภูมิและอุณหภูมิห้องตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา
This research aims to study the antimicrobial activities of five herbs, which were cinnamon bark, betel leaves, licorice, ginger, and galangal, then select the most effective herbal extract to be evaluated for their effectiveness as a preservative in cosmetic gels. The extraction method was carried out by maceration of the herbs in hexane and 95% ethanol. The crude extracts were tested for the antimicrobial activities against S.aureus TISTR 1466, P.aeruginosa TISTR 781, Ecoli ATCC 7839, C.albicans TISTR 5779 and A.brasiliensis DMST 15538 by agar well diffusion method. The result showed that all studied extracts macerated in both hexane and 95% ethanol could inhibit gram-positive bacteria and yeast. The cinnamon bark and betal leaves extracts macerated in hexane could inhibit all types of the studied microorganisms. The minimal inhibitory concentration (MIC) and minimal bactericidal/fungicidal concentration (MBC/MFC) determined by broth microdilution and spread plate method of cinnamon bark extract were in range of 0.039-0.312 mg/mL and 0.156-1.250 mg/mL 0.078-0.625 mg/mL respectively. The cinnamon bark extract macerated in hexane was mixed into gel formulation giving a concentration of 0.3%, 1.25% and 2.5% by weight in order to determine the antimicrobial effect against the microorganisms by challenge test method. It was found the cinnamol extract at the concentration of 1.25% and 2.5% could reduce microorganisms the amount of according to ISO 11930. The formulations were physically and biologically stable under both temperature-cycling and ambient conditions through the studied period.