DSpace Repository

การพัฒนาตำรับไมโครอิมัลชันจากสารสกัดเปลือกมังคุด

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัตนา อินทรานุปกรณ์
dc.contributor.advisor Rattana Indranupakorn
dc.contributor.advisor รัฐพล อาษาสุจริต
dc.contributor.advisor Rathapon Asasutjarit
dc.contributor.author ชุติมา บุญรัตน์
dc.contributor.author Chutima Boonrat
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
dc.date.accessioned 2022-07-07T04:57:49Z
dc.date.available 2022-07-07T04:57:49Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/467
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) (วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558 th
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความคงตัวของ α-mangostin ซึ่งเป็นสารสำคัญในสารสกัดเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana L.) โดยพัฒนาในรูปแบบตำรับไมโครอิมัลชัน โดยเริ่มจากการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการสกัด 3 วิธี (การหมัก การใช้คลื่นเสียง และการสกัดแบบต่อเนื่องด้วยชุดซอกเลต) และตัวทำละลาย 2 ชนิด (methanol และ 95% ethanol) ที่เหมาะสมสำหรับสกัด α-mangostin จากเปลือกมังคุดบดหยาบในปริมาณสูงสุด พบว่าการสกัดแบบต่อเนื่องด้วยชุดซอกเลตโดยใช้ methanol เป็นตัวทำละลายเป็นวิธีที่สามารถสกัด α-mangostin จากเปลือกมังคุดในปริมาณสูงที่สุด จากนั้นทำการแยกสารรบกวนในสารสกัดเปลือกมุงคุดออกด้วยวิธีการสกัดของเหลวด้วยของเหลวและนำสารสกัดเปลือกมังคุดมาใช้สำหรับการตั้งตำรับไมโครอิมัลชันด้วยวิธีการสร้าง pseudotemeary phase diagrams โดยศึกษาปริมาณ/ชนิดของวัฏภาคน้ำมัน (Isopropyl Myristate (IPM) หรือ Oleic acid และสัดส่วนโดยน้ำหนักของวัฎภาคสารลดแรงตึงผิว (Brij® 30)/สารลดแรงตึงผิวร่วม (Propylene Glycol) ที่เหมาะสมจากตำรับไมโครอิมัลชันจำนวนมาก ทำการประเมินการเป็นไมโครอิมัลชันจากลักษณะที่เป็นของเหลวใส ขนาดหยุดอนุภาคเฉลี่ย การกระจายตัวของขนาดอนุภาค (PDI) ค่าซีต้าโพเทนเชียล ความหนืด และความเป็นกรด-ด่าง อีกทั้งยังศึกษาความคงที่อุณหภูมิห้องที่อุณหภูมิ 4°C และที่ 45°C เป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่าตำรับที่ดีที่สุดที่ได้รับการคัดเลือก เป็นตำรับที่ประกอบด้วยสารต่างๆ โดยน้ำหนัก ดังนี้ Oleic acid ร้อยละ 10.00, Brij30/PG (สัดส่วน 1:1) ร้อยละ 56.60 สารสกัดเปลือกมังคุด ร้อยละ 0.25 และน้ำร้อยละ 33.40 มีขนาดหยุดอนุภาคเฉลี่ยเท่ากับ 49.27±2.41 nm, PDI เฉลี่ยเท่ากับ 0.50±0.09 ค่าซีต้าโพเทนเชียลเท่ากับ -1.30±0.80 mV ค่าความหนืดเท่ากับ 1,684.67±1.15 cPs ค่าความเป็นกรดด่าง 5.14±0.04 ตรวจสอบสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านพบว่ามีลักษณะทรงกลม เมื่อทำการทดสอบความคงสภาพภายใต้สภาวะร้อนสลับเย็น จำนวน 6 รอบ ที่อุณหภูมิห้องที่ 4°C แลที่ 45°C เป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่าปริมาณ α-mangostin ในตำรับ จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาโดยใช้เครื่อง HPLC คงเหลือ ร้อยละ 105.25, 90.01, 90.26 และ 90.26 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลข้างต้นบ่งบอกถึงความคงสภาพของตำรับไมโครอิมัลชันผสมสารสกัดจากเปลือกมังคุด th
dc.description.abstract The objective of the study was to enhance the stability of α-mangostin, a major bioactive in mangosteen (Garcinia mangostana L.) pericarp extract using microemulsion formulation. First, the efficiency of three different techniques (stirring, ultrasonication and soxhlet extractions) and solvents (methanol and 95% ethanol) were evaluated for extraction of α-mangostin in mangosteen pericarp. The results showed that soxhlet extraction with methanol gave the highest α-mangostin content. After removing the interfering substances by liquid-liquid extraction method, the obtained mangosteen pericarp extract was used in the microemulsion formulations. Optimization of the formulation was performed by using pesuditernay phase diagrams, which were constructed for the various microemulsion formulations by using isopropyl myristate (IPM) or oleic as oil phase and varying ratio of Brij® 30 (surfactant) to propylene glycol (cosurfactant). The microemulsiom formulations were selected from the microemulsion region and evaluated for the further optimization of the system, characterized by droplet size, polydisperity (PDI) index, zeta potential, viscosity and pH. Stability studies at room temperature, 4°C and 45°C for 1 month were performed. The formulation containing the mass of 10% oleic acid, 56.60 % Brij® 30 to propylene glycol ration of 1:1 and 0.25% mangosteen pericarp extract was stable and had the required droplet size of 49.27±2.41 nm in relationship with PDI of 0.50±0.09, zeta potential of -1.30±0.08 mV, viscosity of 1,684.67±1.15 cPS and pH of 5.14±0.04. Negative-staining transmission electron microscopy (TEM) was used to images the microemulsion droplets and revealed the spherical faeature of the particles. The contents of α-mangostin in micriemulsions after heating-cooling cycle were also analysed by developed HPLC method. The percentages of the remaining α-mangostin of optimized microemulsions stored at heating-cooling 6 cycles, room temperature, 4°C and 45°C for 1 month were 105.25, 9001, 90.26 and 90.26 respectively. The heating-cooling test provided useful information in a short period of term that developed microemulsions containing mangosteen pericarp extract were quite stable. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject เปลือกมังคุด th
dc.subject Mangosteen th
dc.subject สารสกัดจากพืช th
dc.subject Plant extracts th
dc.subject เครื่องสำอาง th
dc.subject Cosmetics th
dc.subject ไมโครอิมัลชัน th
dc.subject Microemulsion th
dc.subject การอักเสบ th
dc.subject Inflammation th
dc.title การพัฒนาตำรับไมโครอิมัลชันจากสารสกัดเปลือกมังคุด th
dc.title.alternative Development of Microemulsion Formulations of Mangosteen (Garcinia mangostana L.) Perocarp Extract th
dc.type Thesis th
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account