This study was to determine the use of Plai oil, the oily active substance, as oil phase in microemulsion preparation and to investigate the effect of indomethacin on the in vitro permeation characteristic of Plai oil component. The experiments were carried out as follows: firstly, the pseudoternary phase diagram of investigated system using Plai oil as oil phase was constructed. Secondly, the optimization of Plai oil concentration was studied. Thirdly, eight Plai oil microemulsions were formulated with a 2[superscript 3] full factorial design, prepared and characterized. Finally, the stability study and then in vitro permeation study through shed snake were investigated. Plai oil was successfully used as oil phase in the pseudoternary phase diagram study and in microemulsion preparation. In the pseudoternary phase diagram study, the system of Plai oil/Tween® 80-absolute ethanol (1:1 and 2:1) water provided a larger single phase area. A 14% w/w Plai oil was chosen to subsequently prepare Plai oil microemulsions. All eight Plai oil microemulsions were isotropic transparent homogenous yellowish liquid mixtures. They were oil in water microemulsions. They had small particle size with a narrow distribution, low viscosity, and a slightly acidic pH value. No phase separation and drug precipitation were observed after three-month storage. Terpinen-4-ol as a chemical marker of Plai oil component seemed to be stable while indomethacin was stable to some extent after three-month storage. In in vitro permeation study, the presence of indomethacin considerably decreased the permeation flux of terpinen-4-ol.
การศึกษานี้เพื่อทดสอบการใช้น้ำมันไพลเป็นวัตภาคน้ำมันในการเตรียมตำรับไมโครอิมัลชัน และเพื่อตรวจสอบผลของยาอินโดเมทาซินต่อรูปแบบลักษณะการซึมผ่านของส่วนประกอบน้ำมันไพล การดำเนินการทดลองเป็นลำดับขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง การสร้างแผนภาพไตรภาคเทียมโดยใช้น้ำมันไพลเป็นวัตภาคน้ำมัน ขั้นตอนที่สอง การประเมินหาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของน้ำมันไพล การดำเนินการทดลองเป็นลำดับขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง การสร้างแผนภาพไตรภาคเทียมโดยใช้น้ำมันไพลเป็นวัตภาคน้ำมัน ขั้นตอนที่สอง การประเมินหาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมของน้ำมันไพล ขั้นตอนที่สามา การออกแบบตำรับไมโครอิมัลชันน้ำมันไพล โดยใช้ 2 [ยกกำลัง 3]แฟกทอเรียลเต็มรูป สามารถเตรียมตำรับไมโครอิมัลชันน้ำมันไพลได้แปดสูตรตำรับและทำการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการศึกษาความคงตัวและการซึมผ่านคราบงูในหลอดทดลอง ผลการทดลองพบว่าน้ำมันไพล/ทวีน 80-เอทานอล บริสุทธิ์ (1:1 และ 2:1)/น้ำ มีพื้นที่บริเวณระบบวัดภาคเดี่ยวที่กว้าง น้ำมันไพลที่ระดับความเข้มข้น 14% โดยน้ำหนัก ถูกเลือกนำไปใช้ในการเตรียมไมโครอิมัลชันน้ำมันไพล ไมโครอิมัลชันน้ำมันไพลทั้งแปดตำรับที่เตรียมได้ มีลักษณะเป็นของเหลวใสสีเหลือง เป็นระบบไมโครอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ มีขนาดอนุภาค การกระจายขนาดอนุภาคแคบ มีความหนืดต่ำและมีค่าพีเอชค่อนข้างเป็นกรด ภายหลังเก็บรักษาเป็นเวลา 3 เดือนไม่พบการแยกชั้นหรือการตกตะกอนของผงยา จากการวิเคราะห์ปริมาณเทอร์พินีน-4-ออล ที่เป็นตัวบ่งชี้ของส่วนประกอบน้ำมันไพลและยาอินโดเมทาซิน ภายหลังการเก็บรักษาเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า เทอร์พินีน-4-ออล มีความคงตัวค่อนข้างดี ส่วนยาอินโดเมทาซินมีความคงตัวในระดับหนึ่ง ผลการศึกษาการซึมผ่านคราบงูในหลอดทดลอง พบว่าการมียาอินโดเมทาซินร่วมในตำรับ มีผลลดอัตราการซึมผ่านคราบงูของเทอร์พินีน-4-ออล