การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytic research) ศึกษาระดับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของคนวัยทำงานอายุระหว่าง 15-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองหนองงูเห่า หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 132 ราย ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Systematic random sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค ความสามารถของตนและอิทธิพลระหว่างบุคคลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหารายข้อ ระหว่าง 0.67-1.00 และรายฉบับ ระหว่าง 0.95-1.00 ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.70-0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม ด้านโภชนาการ และกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความสามารถของตนต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (r=.567, r=.461, p<.001 ตามลำดับ) ส่วนการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.451, p<.001)
Cross-sectional analytical research studied the level of health-promoting behaviors and factors related of working-age people aged 15 to 59 years living in Khlong Nong Ngu Hao community, Mu 1, Nong Prue Subdistrict, Bangphli District, Samutprakarn Province, 132 cases were obtained by systematic random sampling. The questionnaire as a research tool consisted of general information, health-promoting behaviors, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, and interpersonal influence on health-promoting behaviors with item content validity index between 0.67–1.00 and all item between 0.95–1.00 and reliability between 0.70–0.90. Data were analyzed by calculating percentage, mean and standard deviation and the hypothesis testing of variables with Pearson product moment correlation coefficient. The results of this research revealed that the sample group had overall health-promoting behaviors nutrition behavior and physical activity, it was at a moderate level. Perceived benefits of action and perceived self-efficacy had a positive correlation with health-promoting behavior with statistical significance (r=.567, r=.451, p=<.001, respectively), perceived barriers to action had a negative correlation with health-promoting behavior with statistical significance (r=.461, p=<.001).