การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 1 จังหวัดสมุทรปราการ โดยพิจารณาความพร้อมในด้านองค์กร และด้านบุคลากร ซึ่งในด้านบุคลากรได้พิจารณาองค์ประกอบย่อยด้านความพร้อมไว้ 3 ประการ คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านแรงจูงใจ และด้านความรู้เกี่ยวกับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ นอกจากนั้น ยังได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้นำชุมชนในพื้นที่ อบต. เกี่ยวกับความพร้อมของ อบต. ในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรใน อบต. ในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรใน อบต. จำนวน 137 คนและจากผู้นำชุมชนในพื้นที่ อบต. จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้น 237 คน ใช้เวลาในการเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพโดยรวมตามการรับรู้ของ อบต. และผู้นำชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพในรวมของ อบต. คือ ตำแหน่ง รายได้ ต่อเดือน และการฝึกอบรม / สัมมนา เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ สถานภาพสมรส ตำแหน่ง รายได้ต่อเดือน และกลุ่มรายได้ของ อบต. มีความสัมพันธ์กับระดับความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ เน้นด้านบุคลากร ในเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05
This is an explorative research on factors associating with the readiness of Class 1 Sub-district Administration Organization (Class - ISAO) in Samutprakan regarding health devolution acceptance. The objectives were to analyze factors associating with the readiness of health devolution acceptance of the SAO. The readiness for health devolution acceptance of the SAO was defined as the readiness in the organization and the personel managements. It was proposed that the readiness was depend on (1) the general characteristics of personnels and (2) work satisfactions including work position, incomes per month, working status, training and work experiences. The readiness was also reflected by the opinions of community leaders. Data were collected from 137 health personels and 100 community leaders by questionnaires and analysed by chi-square. Results showed that the overall readiness in health devolution acceptance of Class-1SAOs was moderate (78.1%). Factors assoicating with the overall readiness health devolution acceptance of Class SAOs were work position, incomes per month and professional training. The high income Class-1SAOs had more proportion of readiness in the organization management for health devolution acceptance and motivation in working than the low income Class-1SAOs. The community leaders assessed the readiness in health devolution acceptance of Class-1SAOs was moderate (73.0%).