การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (อพม.) ในจังหวัดสมุทรปราการ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 286 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นสัดส่วนตามจำนวนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในแต่ละอำเภอของจังหวัดสมุทรปราการ หลังจากนั้นใช้สถิติ Independent Sample T-test และ One-way Anova และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วย Scheffe และ LSD ผลการศึกษาพบว่า 1) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 51 ปีขึ้นไป มีสถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท และมีระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2-5 ปี โดยมีผลการศึกษาภาพรวมของคุณลักษณะตามมาตรฐานอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ด้านจริยธรรม ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อยู่ในเกณฑ์ระดับปฏิบัติสม่ำเสมอ และด้านความรู้ ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อระดับศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ สถานภาพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ระดับการศึกษาและอาชีพ และ 3) ข้อเสนอแนะ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรมีการวางกลยุทธ์การอบรมตามระดับศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของอาสาสมัครได้มากขึ้น และควรมีการขยายจำนวนอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปยังกลุ่มของผู้มีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างทั่วถึง
The objectives of this quantitative research were to study the performance of Social Development and Human Security Volunteers (SDHSV) in Samut Prakan province, and to study the individual factors affecting the performance of SDHSV in Samut Prakan province. Stratified random sampling was implemented to accumulate a research sample consisting of 286 SDHSV, proportional to the number of SDHSV in each district of Samut Prakan province and the data collection method was questionnaires. After that, Independent – Sample T-test and One way Anova statistics were used the pairwise heterogeneity analysis was done by scheffe and LSDThe results of the study show that: 1) The majority of SDHSV in Samut Prakan province have the following characteristics: females aged 51 and above; married with 4-6 family members; received secondary school level education; do freelance work, with an average monthly income of fewer than 10,000 baht; and have a volunteer period of 2-5 years. It was also found that the volunteers have a high level of knowledge and consistently meet the standards of SDHSV in terms of work ethics, abilities and skills. 2) The individual factors affecting the performance of SDHSV in Samut Prakan province include marital status, number of family members, education level, and duration of SDHSV. 3) Recommendations: The Ministry of Social Development and Human Security should have a strategy for the training according to the potential level of volunteers in order to develop the knowledge and skill of volunteers and expand the number of volunteers to groups of people with higher