การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบ Analytical cross-sectional study มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 130 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าระหว่าง 0.74-0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.75, S.D.=0.35) การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลด้านสถานการณ์ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=0.554, p< 001), (rs=0.500, p<.001), (rs=0.635, p<.001) และ (rs=0.431, p<.001) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการรับรู้อุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=-0.538, p<.001) สามารถนำข้อมูลไปพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงที่มีระดับความเสี่ยงสูง
This descriptive research (Analytical cross–sectional analytical study) aimed to identify 1) the study of health promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients in a high risk level and 2) study factors related to health promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients in a high risk level. The samples were 130 DM with HTN patients in a high risk level in Muang District, Phetchaburi province. Samples were purposively selected according to the two stages random sampling technique. The questionnaire was validated by experts and test reliability by coefficient alpha between 0.74-0.82 Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Spearman’s Rho correlation. The results revealed that sample reported a moderate level of health promoting behavior for CVD prevention (M=2.75, S.D.=0.35). The perceived benefits, perceived self-efficacy, interpersonal influence and situational influences of health promoting behaviors for CVD prevention were significantly positively correlated to health promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients in a high risk level (rs=0.554, p<.001), (rs=0.500, p<.001), (rs=0.635, p<.001) and (rs=0.431, p<.001). The perceived barriers to health promoting behavior for CVD prevention were significantly negatively correlated to promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients in a high risk level (rs=-0.538, p<.001) The results can be used to develop programs on CVD health promoting for DM with HTN patients in a high risk level.