การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนที่เข้ารับการรักษาในคลินิกหมอครอบครัว ตำบลตลาด อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร และมีการรับประทานยาตั้งแต่ 5 ชนิดขึ้นไป ตามแผนการรักษาของแพทย์ จำนวน 127 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค ได้ 0.77-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมนผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=1.98, S.D.=0.35) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้สมรรถนะของตนเอง อิทธิพลระหว่าง บุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=0.390, 0.455, 0.249, p<.001) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการใช้ยาหลายขนานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=-431, p<.001) งานวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูล ไปจัดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโดยเน้นให้ผู้สูงอายุมีความตระหนักในการที่จะสังเกตอาการผิดปกติขณะใช้ยาเพื่อป้องกันอันตรายและช่วยให้เกิดความปลอดภัยได้
This research were descriptive research aimed to study the factors related to the polypharmacy use behavior of the older persons with non-communicable diseases. The samples were 127 older persons with non-communicable-dwelling diseases in the community who were medical treatment to Primary Care Cluster in Talat Sub-district. Krathum Baen District Samut Sakhon Province. The research tool was a questionnaire. The content was examined by experts and the Cronbach’s alpha coefficient is equal to 0.77-0.95. The data were analyzed by mean. standard deviation and analyze the Spearman rank correlation coefficient. The results revealed that sample reported a moderate level of polypharmacy use behavior among community-dwelling older persons with non-communicable diseases (M=1.98, S.D.=0.35). The perceived benefits, perceived self-efficacy and interpersonal influence was a statistically significant positively correlated with polypharmacy use behavior. (rs=0.390, 0.455, 0.249, p<.001) respectively. The perceived barriers ware a statistically significant negatively correlated with polypharmacy use behavior. (rs=-0.431, p<.001). The results of can be used to organize activities to develop drug behavior of the elderly, emphasizing the elderly's awareness of observing abnormal symptoms while taking medication. To prevent harm and help ensure the safety.