DSpace Repository

ข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิการศึกษาและสาธารณสุข : ศึกษาเฉพาะกรณีสตรีไร้สัญชาติในชุมชนแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Show simple item record

dc.contributor.advisor จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.advisor Jaturong Boonyarattanasoontorn
dc.contributor.author โสภิดา เกื้อหนองขุ่น
dc.contributor.author Sophida Kueanongkhun
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2022-12-26T16:02:10Z
dc.date.available 2022-12-26T16:02:10Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/993
dc.description วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 th
dc.description.abstract การศึกษา "ข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิการศึกษาและสาธารณสุข : ศึกษาเฉพาะกรณีสตรีไร้สัญชาติในชุมชนแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนแม่สามแลบที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาและสาธารณสุข เพื่อศึกษานโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริการการศึกษาและสาธารณสุขแก่กลุ่มสตรีไร้สัญชาติ เพื่อศึกษาเพศสภาพและการเข้าถึงสิทธิการศึกษา สาธารณสุขและคุณภาพชีวิตของสตรีไร้สัญชาติ และเพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางในการจัดการศึกษาและการเข้าถึงสิทธิด้านสาธารณสุชบริการสวัสดิการสังคมของสตรีไร้สัญชาติที่เหมาะสมในชุมชนแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เจาะลึกสตรีไร้สัญชาติ บุคคลในครอบครัว ผู้นำทางการ และผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่สามแลบ และโรงเรียนบ้านห้วยโผ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสบเมย หัวหน้าสาธารณสุขอำเภอสบเมย พนักงานสาธารณสุขแม่สามแลบ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชนแม่น้ำสาละวิน และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในชุมชน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 51 คน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนแม่สามแลบประกอบด้วยชนพื้นเมือง คนไทยดั้งเดิม และผู้อพยพที่เข้ามาค้าขาย หนีภัยสงคราม ซึ่งประกอบด้วย 3 ชาติพันธุ์ คือ ไทใหญ่ กะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงที่นัลถือ ศาสนาอิสลาม พื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นเขตรอยต่อชายแดนไทยพม่ มีการคมนาคมด้วยทางลาดยางแต่มีสภาพที่ชำรุดมากตลอดเส้นทาง ชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินมีท่าเรือรังส่งสินค้า การเดินทาง การท่องเที่ยว เป็นชุมชนในพื้นที่ไกลห่างที่เริ่มรับกระแสวัฒนธรรมภายนอกมากขึ้น การติดต่อสื่อสารเป็นภาษาถิ่นทั้งพม่า กะเหรี่ยง ไทย ประชากรวัยสูงวัยจะสื่อสารภาษาไทยไม่ได้ สามารถฟังรู้เรื่องในคำพื้นฐาาน แต่วัยกลางคนลงมาสามารถสื่อสารได้ดี ด้านศาสนามีทั้งนับถือศาสนาพุทธ์ คริสต์ อิสลาม และนับถือผี โดยไม่มีข้อขัดแย้งในศาสนาที่นับถือ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการรับจ้างทั่วไป ค้าขาย และการหาของป่าขาย สตรีบางรายไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ โรคประจำตัวที่พบมีในทุกกลุ่มอาการ ได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือ กล้ามเนื้อกระดูก และข้อ ระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงการบาดเจ็บจากการทำงาน ด้านการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการศึกษาจากโรงเรียนหรือจากศูนย์พักพิง เนื่องจากส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว และคิดว่าภาระในครอบครัวและความสามารถในการเรียนรู้ที่มีจำกัดเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้ คือ การสื่อสารภาษาไทย การฝึกอาชีพที่เหมาะกับเพศและความสามารถ และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อนำมาใช้ในอาชีพและชีวิตประจำวัน ด้านการเข้าไม่ถึงทางสาธารณสุข พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่มีบัตรทอง และมีปัญหาในการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน อันเนื่องมาจากการสื่อสาร ฐานะทางเศรษฐกิจ และความล่าช้าจากจำนวนผู้ใช้บริการที่มาก บางรายจึงเลือกที่จะไปคลินิก หรือซื้อยาทานเอง รวมทั้งการขาดความตระหนักในการตรวจสุขภาพ และการควบคุมโรคติดต่อ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทางการศึกษา ว่ารัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคนไร้ญาติที่มีเอกภาพในองค์กรเดียว และควรอนุญาตให้บุคคลไร้สัญชาติที่จะไปศึกษาระดับที่สูงขึ้นที่อยู่นอกภูมิลำเนาเดิมให้เดินทางเข้า-ออกนอกพื้นที่เพื่อศึกษาได้ตลอดหลักสูตรในระดับปฏิบัติการ ควรยกเลิกหลักสูตรที่ฝึกอบรมไม่เหมาะสมกับบริบทและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและควรจัดหลักสูตรการสื่อสารภาษาไทย และการคิดคำนวณ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ผู้นำชุมชนและควรร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่จัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เน้นการเรียน คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จากศาสนกิจที่จัดอยู่ในชุมชน โดยเพิ่มเติมให้เป็นระบบและมีมาตรฐาน สำหรับข้อเสนอแนะด้านสาธารณสุข รัฐควรมีนโยบาายให้หน่วยงานในแต่ละพื้นที่มุ่งให้ความรู้ในการดูแลตนเอง ป้องกันโรคทั่วไป และโรคติตด่ออย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจและป้องกันโรค และควรมีนโยบายเชิงรุก ด้านการฟื้นฟู บำบัด ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้มีปัญหาทางระบบประสาท กระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ ในระดับปฏิบัติการ หน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ควรจัดโครงการให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่ถูกต้องมากขึ้นในเรื่อง การปฐมพยาบาลการเจ็บป่วยขั้นพื้นฐาน การดูแลผู้ป่วยเป็นไข้ ท้องเสีย โรคติดต่อ เช่น อีสุกอีใส หัด เพื่อลดภาวะแพร่ระบาด และควรสนับสนุนภาครัฐในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขในหลากหลายรูปแบบโดยมีทั้งภาษาไทย พม่า กะเหรี่ยง และภาษาที่ชาวมุสลิมใช้สื่อสาร th
dc.description.abstract The study of "Limitations to Educational and Public Health Accessibility : A Case Study of Stateless Women of Mae Sam Labe Community Sop Moe District, Maehongson Province" has four objecttives: to examine the community context that affects the rights to educational and public health accessibility, to look into policies and laws and educational and public health services related to stateless women, to investigate stateless women's sexuality and their access to education, public health and quality of life, and to explore the appropriate patterns and approaches to provide stateless women's access rights to education, public health and social welfare services. The study was based on a qualitative research and in-depth interviews of stateless women themselves and other people, totaling 51 interviewees. Among these interviewees were stateless women's family members, formal and informal community leaders, director of Maehongson Educational Area 2, directors of Mae Sam Laep and Ban Huai Pho Schools, director of Sop Moe Hospital, public health chief of Sop Moe, Mae Sam Labe ae Sam Labe Community public health officials, director of the Development Center for Salaween Children and Youth Network and the center's community-based workers. According to the findings, Mae Sam Labe Community consisted of indigenous people, local Thais and war-driven traders who sought refuge in the community. These refugees belonged to three ethnic groups: Shans, Karens and Muslin Karens. The whole community area is located in the Salween National Park area, bordering the Thai-Burmese boundaries. Community road was asphalted but in very bad consition throughout. On the bank of the Salween River, there was a community pier for the transport of goods, community transport and tourism. Despite being in a remote area, the community was increasingly open to accept outside cultural trends. Local dialects-Burmese,-Karen and Thai-were used a means of communicating with each other, but elderly community members could not converse in Thai although they could understand certain basic words. However, middle-aged villagers could converse well in Thai. In terms of religion, Buddhists, Christains, Muslims and shamanists could live in harmony. Most community incomes were generated through waged working, trading and selling of forest products. Some women had no occupations at all. The villagers were found to suffer from all symptoms of illnesses, such as cardiovascular diseases, musculoskeletal diseases, digestive diseases, and occupational injuries. Regarding the rights to education, most of these women were never educated by any schools or shelters because most of them were married. They also thought that their family burden and limited learning skills would obstruct their education. The majority sample of stateless women wanted to be able to converse in Thai, occupational training suitabe for their sex, ability, and available community resources so that they could make use of them in their employment and daily life. In terms of the inaccessibility to public health, most of them had not gold card and had difficulty in accessing medical treatment at community hospital because of their inability to communicate, economic status, and the long queues of people waiting to be treated. Some of them chose to go to private clinics or buying medicines from drugstores because of their lack of awareness of the need for medical check-up and control of communicable diseases. The author recommends that in relation to educational policies, the government should establish an agency with a unity of direction to oversee issues relating to stateless people. Stateless people that need to continue higher education outside of their domicile should be permitted to travel to and fro throughout their courses. On a practical level, those training courses inappropriate to the community context and resources ought to be canceled. Instead, course on how to communicate in Thai language and arithmetic should be provided to benefit the villagers' livelihood. In addition to religious community ceremonies, community leaders should cooperate with the authorities and local non-governmental organizations (NGOs) in organizing learning activities focusing on arithmetic, Thai and English languaged. Such additional activities should be of standard quality and arranged on a systematic basis. As far as public health policies are concerned, each of the local public health offices should be promoted, on a continuing basis, to provide the knowledge of how to take care of oneself and the protection against general illnesses and communicable diseases. People living in remote areas should be promoted to be aware of the importance of medical check-up and disease prevention. Proactive policies should be adopted to relieve and rahabilitate the elderly and disabled, as well as those suffering from neurotic disorders and musculoskeletal diseases. On a pratical level, state agencies and NGOs ought to organize learniing programs to educate people how to take care of themselves and to prevent and control disease. With such knowledge, the villagers can give first aid and handle simple illnesses-fever, diarrhea, and such communicable diseases as chicken pox and measles-- more properly to reduce their spreading. And the government should organize its dissemination of public health knowledge in a variety of format in Thai, Burmese and Karen languages as well as in Arabic for Muslim villagers. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject สัญชาติ -- ไทย th
dc.subject สิทธิการรักษาพยาบาล th
dc.subject Citizenship -- Thailand th
dc.subject ความไร้สัญชาติ th
dc.subject Statelessness th
dc.subject สิทธิในการศึกษา th
dc.subject Women -- Education th
dc.subject สตรี -- การศึกษา th
dc.subject ชุมชนแม่สามแลบ (แม่ฮ่องสอน) th
dc.subject Mae Sam Labe Community th
dc.title ข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิการศึกษาและสาธารณสุข : ศึกษาเฉพาะกรณีสตรีไร้สัญชาติในชุมชนแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน th
dc.title.alternative Limitations to Educational and Public Health Accessibility : A Case Study of Stateless Women of Mae Sam Labe Community Sop Moe District, Maehongson Province th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account