dc.contributor.advisor |
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย |
|
dc.contributor.advisor |
Vanida Durongrittichai |
|
dc.contributor.author |
ชญานิษฐ์ แกล้วทนงค์ |
|
dc.contributor.author |
Chayanit Kleawtanong |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
|
dc.date.accessioned |
2022-12-27T16:12:43Z |
|
dc.date.available |
2022-12-27T16:12:43Z |
|
dc.date.issued |
2014 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/998 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557 |
th |
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้มีภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจแบบมีส่วนร่วม โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงภายหลังการพัฒนาระบบ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้มีภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ครอบครัวของผู้มีภาวะเสี่ยงและบุคลากรสุขภาพ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์ การทดสอบทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับไขมัยในเลือดสูงร้อยละ 40 ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ร้อยละ 80.0 การรับรู้ที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี อายุ และแรงจูงใจด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์ปัจจัยด้านครอบครัวพบว่า ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและวิธีการจัดการ ด้านระบบบริการพบว่า พยาบาลวิชาชีพเน้นปฏิบัติตามแผนการศีกษาสหสาขาวิชาชีพไม่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ กระบวนการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย 3 ระยะคือ 1) รับรู้ปัญหาและร่วมมือแก้ไข 2) ร่วมกันกำหนดกิจกรรมและบทบาทหน้าที่ใหม่ และ 3) ดำเนินกิจกรรมและประเมินผล กิจกรรมประกอบด้วยการประเมินคัดกรองปัจจัยเสี่ยง มีการให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและฝึกปฏิบัติที่เน้นปัญหาเฉพาะบุคคล กิจกรรมจัดแบบรายเดี่ยว รายกลุ่ม และรายครอบครัวโดยสหสาขาวิชาชีพ จัดทำระบบการจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูล การติดตามประเมินผล และร่วมกันพัฒนาสื่อ ได้แก่ คู่มือ ภาพเคลื่อนไหว หุ่นจำลอง หลังพัฒนาระบบพบว่า บุคลากรสุขภาพแสดงบทบาทเชิงวิชาชีพเพิ่มขึ้น คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้มีภาวะเสี่ยงสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ระดับความดันโลหิตตัวบนและล่าง ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้ ควรติดตามผลการพัฒนาระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดความต่อเนื่อง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย |
th |
dc.description.abstract |
The purpose of this participatory action research aimed to develop the caring system for the risk of coronary heart disease. By studying the effective factors of health behavior and the result after develop the system. The major target is the risk of coronary heart disease. The minor target are their relations, and the medical profession. Data collection was carried out using the questionnaires and interviewing. Data analysis was performed by using correlation, t-test, paired t-test and content analysis. The result showed that most of coronary heart's risks were had hypertension with dyslipidemia (40%) and body mass index more than 25 (80%). The risks perceived to affect most health care behavior in good level. The factors that affected to the risk's health care behavior significantly consisted of age and motivation of disease prevention. Relation's analysis found that, they didn't have enough understanding of risk factors and managing method. Caring system factors found that nurses stressed the action from treatment plan. Multidisciplinary didn't have participant in health supporting. The carring system development for the risk of coronary heart disease consisted of 3 steps. Firstly, perceived the problem and solved it. Secondly, set new activity role and suty. Thirdly, directing the activities and evaluated their efficiency. The activity consisted of risk assessment and providing health education to individual, group and families. Giving counsel and practice by multidisciplinary. Data saving system and data approaching and evaluation were happened. Developed medium such as manual, power point, and model. After developed carring system, the medical professioner show more their role. Knowledge about self-caring behaviors was higher significantly. Systolic and diastolic pressure were lower significantly. The recommendations from this study were following of the result of developing systemm also short and long-terms. Analyzing the factors of continuous, proficiency, efficiency, health behavior changing and following the all relative's changing of role and duty. |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การพยาบาล |
th |
dc.subject |
Coronary heart disease -- Nursing |
th |
dc.subject |
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- ผู้ป่วย |
th |
dc.subject |
Coronary heart disease -- Patients |
th |
dc.subject |
พฤติกรรมสุขภาพ |
th |
dc.subject |
Health behavior |
th |
dc.title |
การพัฒนาระบบการดูแลผู้มีภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจแบบมีส่วนร่วมโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
th |
dc.title.alternative |
The Participatory Development of Caring System for the Risk of Coronary Heart Disease by Community Nurse Practitioner. |
th |
dc.type |
Thesis |
th |
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
th |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
th |
dc.degree.discipline |
การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
th |