กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1528
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Working Motivation of Civil Employees in Ratchaburi Home for Mentally Disabled Children |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล Thipaporn Phothithawil สโรชา จิตรภักดี Sarocha Jitphakdee Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
คำสำคัญ: | สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรี -- พนักงานเจ้าหน้าที่ Ratchaburi Home for Mentally Disabled Children -- Employees การจูงใจในการทำงาน Employee motivation |
วันที่เผยแพร่: | 2007 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่อง “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการในสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรี” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญาจังหวัดราชบุรี รวมถึงแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานราชการของสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรีทั้งหมด จำนวน 31 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 31 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 26-30 ปี อายุต่ำสุด 19 ปี และอายุสูงสุด 50 ปีมีสถานภาพโสดมากกว่าสมรส และมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. มากที่สุด รองลงมามีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดราชบุรีมากกว่ามีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่น้อยกว่า 1 ปี รองลงมามีระยะเวลาในการปฏิบัติงานมาแล้ว 2 - 4 ปี ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท รองลงมามีรายได้ต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท และมีรายได้สูงสุดต่อเดือน 20,001 บาทขึ้นไป แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรี พบว่า พนักงานราชการมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของระดับแรงจูงใจมากที่สุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม และที่เหลือมีค่าเฉลี่ยของระดับแรงจูงใจเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสัมพันธภาพในการทำงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยส่วนรวม ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย และด้านความยุติธรรมในการทำงาน แนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรี พบว่า พนักงานราชการส่วนใหญ่ต้องการให้สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จังหวัดราชบุรีจัดสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับพนักงานราชการทุกคนและควรจะจัดห้องหรือสถานที่ที่เป็นส่วนตัวให้กับเจ้าหน้าที่ โดยมีเครื่องบริหารออกกำลังกายให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้ในการออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน รวมถึงควรจัดสรรเวลาวันหยุดสำหรับเจ้าหน้าที่ทุกคนหรือควรเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ในแต่ละตำแหน่งให้เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณงานและความรับผิดชอบในแต่ละงาน เพื่อจะทำให้เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสใช้เวลาในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัวที่เหมาะสม ในส่วนของผู้บริหารสถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญาจังหวัดราชบุรี ผู้บริหารสถานสงเคราะห์ฯ ควรมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ ความสามารถและความชำนาญของพนักงานราชการแต่ละคน และพิจารณาปริมาณงานที่มอบหมายอย่างเหมาะสม ควรเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้เข้าร่วมฝึกอบรมและพัฒนาตนเองเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ และนำความรู้มาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมให้สถานสงเคราะห์ฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้พนักงานราชการมีส่วนร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบมากขึ้น และควรให้ความสำคัญกับพนักงานราชการทุกคนในการทำงานร่วมกันอย่างเสมอหน้ากัน อย่างมีส่วนร่วม เน้นการทำงานเป็นทีม การประชุมกลุ่มจะต้องฟังเสียงของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และแก้ปัญหาด้วยความเป็นธรรม การยกย่องพนักงานราชการให้เป็นส่วนหนึ่งของสถานสงเคราะห์ฯ จะเป็นส่วนเสริมสร้างให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานมากขึ้น ที่สำคัญควรมีมาตรการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยเน้นความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ ซึ่งอาจเป็นลักษณะกิจกรรมกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน |
รายละเอียด: | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1528 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Sarocha-Jitpakdi.pdf Restricted Access | 1.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น