กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2075
ชื่อเรื่อง: การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในสถานที่เช่าพักอาศัยที่มีผลต่อการเลือกเช่าที่พักอาศัยของบุคคลทั่วไปภายในซอยนายกวน ตีทอง ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Residences' Natural Environment Preservation Affecting the Accomodating Rental Decision is Soi Naykorn Teetong Tumbon Bangchalong Aumper Bangpee Samutprakarn Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สถาพร ปิ่นเจริญ
Sathaporn Pincharoan
จตุพร ตีทอง
Jatuporn Teetong
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
หอพัก -- การออกแบบและการก่อสร้าง
Dormitories -- Design and construction.
ภูมิสถาปัตย์กับการอนุรักษ์พลังงาน
Architecture and energy conservation
วันที่เผยแพร่: 2009
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: การศึกษาการอนุรักษ์สภาพแวล้อมตามธรรมชาติในสถานที่เช่าพักอาศัยที่มีผลต่อการเลือกเช่าที่พักอาศัยของบุคคลทั่วไปภายในซอยนายกวน ตีทอง ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในสถานที่เช่าพักอาศัยและศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของสถานที่เช่าพักในรูปแบบการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาตินี้ แนวโน้มความเป็นไปได้ของการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและผู้สนใจในการเช่าพักอาศัยในวิธีการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 210 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่าง 100% เนื่องจากประชากรมีจำนวนจำกัดและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 45.2 และเพศหญิงจำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 54.8 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.4 มีสถานภาพโสดอยู่ในระดับการศึกษาปริญญาตรี และทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนเป็นส่วนมาก ซึ่งระดับรายได้อยู่ในช่วง 10,000-15,000 บาท กลุ่มตัวอย่างพักอาศัยอยู่ในสถานที่พักเป็นเวลา 1-3 ปี เป็นรูปแบบของการเช่าพักอาศัย โดยจะพักอาศัยอยู่ร่วมกับคู่ครองหรือแฟน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าระยะทางการเดินทางเข้าสถานที่เช่าพักที่เหมาะสมจะต้องสามารถเดินเข้าที่พักเป็นระยะทางสั้นๆ ได้ซึ่งระยะทางโดยประมาณที่ 200 เมตร แต่ไม่เกิน 500 เมตร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสถานที่เช่าพักที่ดีต้องปลอดภัยจากมลภาวะที่เป็นพิษ และต้องมีสภาพแวดล้อมที่สงบเงียบจากธรรมชาติ ผู้คนไม่พลุกพล่าน สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติในสถานที่เช่าพักอาศัยความคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยมากที่สุด คือ การมีต้นไม้ล้อมรอบสถานที่พักอาศัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีทั้งสุขภาพกายและใจและความสงบร่มเย็นของธรรมชาติ จะทำให้สถานที่พักอาศัยน่าอยู่มากยิ่งขึ้น รองลงมากลุ่มตัวอย่างเห็นว่าพลังงานลมนั้นทดแทนการใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งสามารถให้ความเย็นเหมือนกันได้ และกลุ่มตัวอย่างก็ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำสถานที่เช่าพักที่พัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาตินั้น สามารถทำได้จริง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสนใจในการเช่าพักอาศัยในสถานที่พักอาศัยตามธรรมชาตินี้ หากมีการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติได้จริง โดยผลจากการทดสอบค่าสถิติไคสแควร์ที่สำคัญ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบสถานที่เช่าพักอาศัยกับแนวโน้มความต้องการสถานที่เช่าพักอาศัยในรูปแบบการอนุรักษ์ธรรมชาติของกลุ่มประชากรตัวอย่างมีความสนใจ ในสถานที่เช่าพักในรูปแบบนี้เป็นอย่างมากค่าเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 99.5 และมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.775
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2075
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Chatuporn-Treethong.pdf
  Restricted Access
16.62 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น