กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3624
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรของบริษัท ยูไนเต็ด ไทย-มาล์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Increasing the Profitability of United Thai-Mal Airconditioning Co., Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรสิทธิ์ จักษ์เมธา Worasith Jackmetha เนรัญชลา รัตโนดม Neranchala Ratnodom Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
คำสำคัญ: | เครื่องปรับอากาศ Air conditioning กำไรของบริษัท Corporate profits การวางแผนการผลิต Production planning ต้นทุนการผลิต -- การบริหาร Cost -- Administration การควบคุมสินค้าคงคลัง Inventory control บริษัท ยูไนเต็ด ไทย-มาล์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัด United Thai-Mal Airconditioning Co., Ltd. |
วันที่เผยแพร่: | 2003 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
บทคัดย่อ: | ภาคนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์หาแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรของบริษัท ยูไนเต็ด ไทย-มาล์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตแผ่นระบายความร้อน และแผ่นระบายความเย็น (คอยล์) โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก 2 ประเภทคือ เครื่องปรับอากาศภายในบ้าน และเครื่องปรับอากาศภายในรถประจำทาง เครื่องปรับอากาศภายในบ้านจะทำการผลิตแบบตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ส่วนเครื่องปรับอากาศภายในรถประจำทางจะทำการผลิตแล้ว ให้ตัวแทนเป็นผู้จัดจำหน่าย โดยการกำหนดราคาขายให้มีกำไรร้อยละ 150 ในการผลิตเครื่องปรับอากาศภายในรถประจำทางจะทำการเก็บสินค้าคงคลัง เพื่อรอการจำหน่าย ปรากฏว่าผลการดำเนินงานประสบกับการขาดทุนติดต่อกันมา 4 ปี ในการศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ไขนี้ ได้นำแนวคิดในเรื่องการวางแผนกระบวนการผลิต การจัดลำดับการผลิตและการบริการ การวางแผนความต้องการวัสดุ การวิเคราะห์ต้นทุนตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทมาวิเคราะห์ โดยนำข้อมูลด้านการผลิต ด้านบัญชี และด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัทผลการวิเคราะห์พบว่า ระบบการผลิตไม่มีความสมดุลในสายการผลิต และไม่สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของผลิตภัณฑ์ ระบบการบริหารสินค้าคงคลังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรอีกทั้งการกำหนดต้นทุนมาตรฐานอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ ทำให้การกำหนดราคาขายไม่เป็นไปตามแผน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ต่างเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง เช่น ค่าเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายทางด้านค่าแรงงาน เป็นต้นจากผลการวิเคราะห์ พบว่าในแนวทางแก้ไขปัญหานั้นสิ่งแรกที่ผู้บริหารควรทำการพิจารณาแก้ไข คือ การวางระบบการผลิต ให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของสินค้า ในแต่ละงวด และวางแผนการสั่งวัตถุดิบในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการในการผลิต เพื่อป้องกันการขาดวัตถุดิบในการผลิต อีกทั้งยังป้องกันการมีสินค้าสำเร็จรูปเก็บไว้เกินความจำเป็น และการ กำหนดราคาขายจากต้นทุนมาตรฐานตามเกณฑ์ที่ถูกต้อง แนวทางเหล่านี้นำไปสู่การลดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพในการทำกำไรเพิ่มขึ้น |
รายละเอียด: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3624 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration - Independent Studies |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Increasing-the-profitability-of-United-Thai-MAL.pdf Restricted Access | 15.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น