กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3717
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing Mixes Affecting the Selection of the Tutorial School of High School Students in Maung District, Samutprakarn Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัตน์ ทองรอด
Wirat Tongrod
ปรางทิพย์ วงศ์พัทธยากร
Prangtip Vongpattayakorn
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
คำสำคัญ: โรงเรียนกวดวิชา -- การตลาด
Cram schools -- Marketing
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย – ไทย – สมุทรปราการ
High school students – Thailand – Samut Prakan
พฤติกรรมผู้บริโภค
Consumer behavior
วันที่เผยแพร่: 2007
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
บทคัดย่อ: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการการศึกษาครั้งนี้ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน ประกอบด้วยโรงเรียนรัฐบาล 2 โรง และโรงเรียนเอกชน 1 โรง ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามได้ จำนวน 281 คน เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่ โดยใช้การวิเคราห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี Chi-Squareจากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 281 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยศึกษาอยู่ในแผนกวิทย์-คณิตมากที่สุด มีเกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.00-3.59 และคณะที่ตั้งเป้าหมายในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย คือ คณะบริหารธุรกิจ และผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ย 30,001 บาทขึ้นไปจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 281 คน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เคยเรียนกวดวิชาร้อยละ 85.1 โดยมีเพื่อนแนะนำมากที่สุด เริ่มเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และสาเหตุสำคัญที่เรียนก็เพราะว่าต้องการเพิ่มเติมความรู้ โดยมีบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจ คือ ผู้ปกครอง ส่วนวิชาที่นักเรียนให้ความสำคัญมากที่สุดในการเรียน คือ คณิตศาสตร์ และช่วงเวลาที่นิยมเรียนมากที่สุด คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเรียน โรงเรียนกวดวิชา ให้ความสำคัญกับปัจจัยหลักประกอบด้วย ปัจจัยด้านเนื้อหาหลักสูตรและเอกสารเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ ปัจจัยด้านบุคลากร และอันดับสาม คือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ทางกายภาพ โดยปัจจัยย่อย 3 อันดับแรกนั้นให้ความสำคัญกับอาจารย์มีเทคนิคการสอนที่เข้าใจ อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกันเอง และอาจารย์มีคุณวุฒิทางการศึกษา ตามลำดับจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเรียนโรงเรียนกวดวิชาโรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน มีความแตกต่างกันในการเลือกว่าเคยหรือไม่เคยเรียนกวดวิชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งทางด้านระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยของผู้ปกครอง ก็มีความแตกต่างกัน และความสัมพันธ์กับวิชาของกลุ่มตัวอย่างนั้นมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ คือ ระดับการศึกษา แผนกที่กำลังศึกษา เกรดเฉลี่ย และคณะที่ตั้งเป้า และระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับวิชา ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยทางด้านส่งเสริมการตลาด และด้านบุคลากรจากข้อมูลที่ได้ศึกษา โรงเรียนกวดวิชาควรคัดเลือกบุคลากรที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ด้านการสอน เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ และใช้เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจต่อไป
รายละเอียด: การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3717
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration - Independent Studies

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Marketing-Mixes-Affecting-the-Selection-of-the-Tutorial-School.pdf
  Restricted Access
11.14 MBAdobe PDFดู/เปิด Request a copy


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น