Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภาวดี ธนัพประภัศร์-
dc.contributor.authorพรศิริ พันธสี-
dc.contributor.authorอรพินท์ สีขาว-
dc.contributor.authorบุญยิ่ง ไร่สุขสิริ-
dc.contributor.authorสุวรรณี มงคลรุ่งเรือง-
dc.contributor.authorSupawadee Tanaprapat-
dc.contributor.authorPornsiri Pantasri-
dc.contributor.authorOrapin Sikaow-
dc.contributor.authorBoonying Raisooksiri-
dc.contributor.authorSuwanee Mongkhonrungreang-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2023-01-02T13:16:59Z-
dc.date.available2023-01-02T13:16:59Z-
dc.date.issued1995-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1017-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความคาดหวังและความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2,3 และ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนทั้งสิ้น 165 คน การเก็บข้อมูลคณะผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม 2 ชุดคือ แบบสอบถามความคาดหวังและความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติและแบบสอบถาม สาเหตุที่ทำให้ความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษาไม่เป็นไปตามความคาดหวัง เก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ และพฤษภาคม 2538 ความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติประเมินจากองค์ประกอบ 3 ด้านคือ ด้านความรู้ และการตัดสินใจ ด้านทักษะในการปฏิบัติ ด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบ ผลการวิจัยพบว่า 1.ค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติโดยรวมด้านความรู้และการตัดสินใจ ด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สูงกว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้านทักษะในการปฏิบัติของนักศึกษาทั้ง 3 ชั้นปี ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าเฉลี่ยคะแนนความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติโดยรวมด้านความรู้และการตัดสินใจ ด้านทักษะในการปฏิบัติของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ย คะแนนความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบของนักศึกษาทั้ง 3 ชั้นปี ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติทั้งโดยรวม และรายด้านของนักศึกษาชั้นปีที่ 2,3 และ 4 สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติทั้งโดยรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 4.สาเหตุที่ทำให้ความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ได้แก่ มีระยะเวลาในการปฏิบัติน้อยจึงปฏิบัติได้ไม่คล่องเวลาในการศึกษาข้อมูลไม่เพียงพอ หนังสือในการค้นคว้ามีน้อย ไม่สามารถให้การพยาบาลบางอย่างได้เนื่องจากไม่เคยกระทำหรือได้กระทำน้อยครั้ง รู้สึกอึดอัดและประหม่าที่ต้องปฏิบัติงานต่อหน้าอาจารย์นิเทศและเจ้าหน้าที่จึงทำให้ปฏิบัติได้ไม่คล่องแคล่ว 5.ค่าเฉลี่ยคะแนนสาเหตุที่ทำให้ความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติไม่เป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ต่ำกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6.ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติเป็นไปทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r=.38) 7.ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติกับสาเหตุที่ทำให้ความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติไม่เป็นไปตามความคาดหวังเป็นไปทางลบในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r=.48) จากผลการวิจัยดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติต่อไป เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลth
dc.description.abstractThis descriptive research studied the expected and actual learning competence in practice according to the perception of student nurses. Purposive samples were the 2md ,3 rd and4 th year students of Faculty of Nursing at Huachiew Chalermprakiet University. (n=165) Subjects were asked to complete 2 sets of questionnaires : the expected and the actual learning competence in practice, the cause of the actual learning competence in practice which did not agree with the expectation. The data were collected on February and May 1995. The learning competence was devided into 3 components : the knowledge and decision making, the skills in practice, the ethics and responsibility. Results of the study revealed that : (1)The total mean score and the mean score in 2 components : the knowledge and decision making and the skills in practice of the expected learning competence in practice of the 4 th year students were significantly higher than the 2md year students at the .05 level. However. However the mean score of the ethics and responsibility of all the three year students were not significantly different at the .05 level. (2)The total mean score and the mean score in the 2 components : the knowledge and decision making and the skills in practice of the actual learning competence in practice of the 4 th year students were significantly higher than the 3 rd year students at the .05 level. However the mean score of the ethics and responsibility of all the three year students were not significantly different at the .05 level. (3)The total mean score and the mean score in 3 components of the expected learning competence in practice of all the three year students were significantly higher than the actual learning competence in practice at .000 level. (4)The cause of the actual learning competence in practice which did not agree with the expectation were shorting of time in nursing practice, lack of time to study, having a few nursing reference, discomfort with closed supervision during nursing practice. (5)The mean score of the cause of the actual learning competence in practice which did not agree with the expectation of the 4 th year students was lower significantly than the 2md and 3 rd of the 4 th year students was lower significantly than the 2md and 3 rd year students at the .05 level. (6)There was a positive significant relationship between the expected and actual learning competence in practice. (r=.38, p <.001) (7)There was a negative significant relationship between the actual learning competence in practice and the cause of the actual learning competence in practice which did not agree with the expectation. (r=-.48, p <.001) These results of the research will be used to improve the nursing curriculum and learning practice for promoting the student learning competence in clinical practice.-
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ [พ.ศ.2536]th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectนักศึกษาพยาบาล -- การฝึกภาคปฏิบัติth
dc.subjectNursing studentsth
dc.subjectความคาดหวัง (จิตวิทยา)th
dc.subjectExpectation (Psychology)th
dc.subjectพยาบาล -- การศึกษาและการสอนth
dc.subject์ีNursing -- Study and teachingth
dc.titleการศึกษาความคาดหวังและความเป็นจริงเกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้ ภาคปฏิบัติตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeThe Study of the Expectation and Actual Learning Competence in Clinical Nursing Practice according to the Perception of Student Nurses at Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf363.93 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf246.06 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf402.87 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf261.43 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf557.6 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf315.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.